Burapha Wittaya Chonburi School Copy

Activities

กองบรรณาธิการ

นับตั้งแต่กรมอนามัยได้กำหนดกลยุทธ์ โรงเรียนสส่งเสริมสุขภาพ เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา สุขภาพอนามัยของประชาชน ก่อให้เกิดการปฏิรูปการดำเนินงาน อนามัยโรงเรียนจากเดิม มีคำถามมากมายว่า โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ คืออะไร ต่างจากงานอนามัยโรงเรียนอย่างไร และทำไมต้องมีการเปลี่ยนแปลง
ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โลกยุคปัจจุบันเป็นโลกไร้พรมแดน การไหลบ่าของวัฒนธรรมตะวันตก สื่อสารมวลชนรูปแบบต่างๆ อิทธิพลของการโฆษณา มีผลต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของเด็ก และเยาวชน มีค่านิยมที่ผิดๆ เช่น การบริโภคอาหารจานด่วน อาหารขยะ ซึ่งมีไขมันสูง การนิยมใช้ของต่างประเทศ การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด การดูถูกวัฒนธรรมไทย ประกอบกับสภาพครอบครัว และสภาพสังคมในปัจจุบัน มีปัญหาสลับซับซ้อน ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่มาจากโรคไม่ติดต่อ เพิ่มมากขึ้น อันเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของคนไทย ขระนี้ ดังนั้นการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในรูปแบบเดิมที่มีการให้บริการอนามัยโรงเรียน และการสอนสุขศึกษาที่เป็นเพียงการถ่ายทอด และทดสอบความรู้ของนักเรียน ในเรื่องสุขภาพ ยังไม่เพียงพอ ทักษะต่างๆ ควรจะต้องได้รับการพัฒนา ปรับปรุง ได้แก่ ทักษะในการต่อรอง การชั่งน้ำหนักต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในการตัดสินใจที่เหมาะที่ควร ในเรื่องเกี่ยวกับตนเอง พฤติกรรม ตลอดจนสิ่งแวดล้อมรอบตัว นอกจากนี้ ปัญหาที่เด็กและเยาวชน กำลังเผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบันนั้น ไม่ใช่ปัญหาที่โรงเรียนจะต้องแก้ไขฝ่ายเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือ ของโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน โดยการวางแผนโครงการให้สอดคล้อง กับปัญหาของชุมชน ทำการศึกษารายละเอียดของพฤติกรรม และตัวกำหนดพฤติกรรมสุขภาพ ความร่วมมือระหว่างชุมชน และโรงเรียน รวมถึงการประสานงาน ระหว่างหน่วยงานสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน และที่สำคัญคือ การทำให้คนในชุมชนมีความรู้สึก และรับเป็นเจ้าของเรื่อง
ในปี พ.ศ.2538 คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ เรื่อง งานอนามัยโรงเรียน และการส่งเสริมสุขภาพ ขององค์การอนามัยโลก ได้เสนอแนวความคิดเรื่อง โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งนอกจากนะหมายถึง การให้โอกาสต่างๆ ในการส่งเสริมสุขภาพแก่เด็กนักเรียนแล้ว ยังรวมถึงบุคลากรผู้สอน และบุคลากรด้านการบริหารด้วย การให้บริการ และการจัดสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อสุขภาพในโรงเรียน การให้คำปรึกษา และสังคมสงเคราะห์ ตลอดจนการให้บริการเชิงรุก ในโครงการต่างๆ เพื่อชุมชนของโรงเรียน ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้เสนอแนวคิดดังกล่าว ในการประชุม Intercountry Consultation on Health Promoting Schools เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2540 ณ กรุงเทพมหานคร
การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จำต้องอาศัยการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน ในทุกระดับ ตั้งแต่ในระดับชาติ ระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้อง ลงไปสู่ระดับจังหวัด จนกระทั่งถึงระดับโรงเรียน ที่เป็นหน่วยปฏิบัติ ซึ่งกรมอนามัยได้จัดประชุมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับประเทศไป เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2542 เพื่อนำนโยบาย ทิศทางประชาสัมพันธ์ แนวทาง และกลยุทธ์ของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ให้หน่วยงานต่างๆ ได้รับทราบ และเห็นความสำคัญของการที่โรงเรียน เป็นจุดเริ่มต้น และศูนย์กลางของการส่งเสริมสุขภาพ ทุกคนในชุมชน

ประวัติความเป็นมา

โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเกิดจากข้อเสนอแนะของ คณะผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมสุขภาพ และสุขศึกษา ขององค์การอนามัยโลก ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ในโรงเรียน เพื่อตอบสนองต่การป้องกันปัญหาสุขภาพอนามัย ของประชาชน จากโรคไม่ติดต่อ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น และเพื่อต้องการให้แต่ละประเทศ หันมาทุ่มเทกัยการศึกษา องค์การอนามัยโลกภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEARO) จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ จัดประชุม Intercountry Consultation on Health Promoting Schools เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2540 ณ กรุงเทพมหานคร ที่ประชุมได้เสนอแนวคิด หลักการ และแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ทุกประเทศเห็นด้วย ในแนวทางที่เสนอ พร้อมทั้งได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ การสร้างเครือข่ายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และทรัพยากรร่วมกัน
สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ได้รับแนวคิดของโครงการ และกำหนดเป็นกลยุทธ์หนึ่ง ของการพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชน แต่เนื่องจากการดำเนินงาน ต้องมีการประสานงานตั้งแต่ ระดับนโยบาย และระดับผู้บริหารของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย ตลอดจนกระทรวงอื่นๆ และองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้เสนอให้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติขึ้น พร้อมทั้งได้ประชุมระดมความคิด ในการดำเนินงาน ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในปี 2541 ซึ่งมีมติร่วมกันที่จะร่วมพัฒนาโรงเรียนทุกโรง ให้เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

2 วิสัยทัศน์ สู่การพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

ศจ.นพ.ประเวศ วะสี
"สุขภาพ ไม่ได้อยู่ที่โรงพยาบาล
สุขภาพอยู่ที่ตัวเรา ในครอบครัว ในชุมชน ในโรงเรียน ในวัด ในสื่อมวลชน
อยู่ในวิถีชีวิต"

เวลาที่คนไทยคิดถึงเรื่องสุขภาพ เราจะคิดว่า สุขภาพนั้นอยู่ในโรงพยาบาล เป็นแนวคิดที่ผิดมาตลอด สุขภาพไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาล โรงพยาบาลไม่ใช่ที่สร้างสุขภาพ สุขภาพอยู่นอกโรงพยาบาล อยู่ที่ตัวคนทุกคน อยู่ในครอบครัว ในชุมชน ในโรงเรียน ในวัด ในสื่อมวลชน อยู่ในที่ต่างๆ ทุกแห่ง พอคิดว่าสุขภาพอยู่ในโรงพยาบาล เราก็ทุ่มจิตใจ เราหมดเงินไปกับเรื่องนี้ไปเยอะ แต่ได้ผลไม่คุ้ม
เพราะฉะนั้น เราต้องปรับวิธีคิดใหม่ ตั้งทิษฐิใหม่ว่า สุขภาพไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาล สุขภาพอยู่ในตัวท่านทุกคน อยู่ในครอบครัว อยู่ในชุมชน อยู่ในโรงเรียน อยู่ในสถานที่ทำงาน อยู่ในวัด อยู่ในสื่อมวลชน อยู่ในวัฒนธรรม คือ อยู่ในวิถีชีวิต
ผมคิดว่า สิ่งแรกที่จะต้องทำคือ ช่วยกันสร้างความเข้าใจกันให้แพร่หลายว่า โรงเรียนคือที่สร้างสุขภาพ ไม่ใช่โรงพยาบาล โรงเรียนเป็นสถานที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสุขภาพส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรม ที่เรียกว่าพฤติกรรมสุขภาพ สุขภาพไม่ได้เกิดจากหมอ สุขภาพดีนั้น เกิดจากพฤติกรรม ถ้าเรามีพฤติกรรมที่ถูกต้อง เราก็ไม่เจ็บป่วย เราก็มีสุขภาพดี
โรงเรียนคือ สถานสร้างสุขภาพที่สำคัญ ที่ต้องรณรงค์เรื่องนี้ พวกเราตั้งทิษฐิถูกต้อง คนก็ทำเอง อย่าไปลงเฉพาะเทคนิคเท่านั้น การจะทำอะไรให้ได้ผลมาก ต้องจับที่ทิษฐิ ถ้าจับตรงเทคนิคได้ผลไม่มาก ไปทำเทคนิคอย่างนั้น อย่างนี้ คนไม่ค่อยเข้าใจ แต่พอตั้งทิษฐิถูกต้อง คงมีความเข้าใจถูกต้องแล้ว เขาก็ทำเอง และจะทำเป็นการใหญ่ เพราะฉะนั้น สิ่งแรกที่น่าจะทำคือ รณรงค์ ช่วยกันประกาศให้ก้องว่า โรงเรียนคือที่สร้างสุขภาพ ทำยุทธศาสตร์สื่อ เผยแพร่ให้คนไทย ปรับความคิดให้ได้ว่า โรงเรียนคือที่สร้างสุขภาพ ถ้าเปลี่ยนตรงนี้ได้ เป็นมูลค่าไม่ทราบกี่แสนกี่ล้าน

ผมคิดว่า ถ้าจะเริ่มทำงานนี้ให้สำเร็จ ต้องเริ่มทำ 4-5 ประการนี้

ประการที่หนึ่ง ควรจะปรับความคิดเรื่องสุขภาพให้ถูกต้อง โรงเรียนคือที่สร้างสุขภาพ ไม่ใช่โรงพยาบาล

ประการที่สอง ปรับวิธีการทำงานในเรื่องโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ อย่าเอากรมเป็นที่ตั้ง ให้เอาตัวพื้นที่เป็นตัวตั้ง เอภารกิจและความร่วมมือในพื้นที่เป็นตัวตั้ง ควรส่งเสริมให้โรงเรียนคิดเอง เราเพียงแต่ทำนโยบาย ทำทิศทาง แล้วบอกโรงเรียนให้ลองคิดซิ แล้วเรามีกระบวนการเข้าไปเรียนรู้ว่า ใครทำอะไรดี ที่ไหน เอาเป็นข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชื่อมโยงกัน

ประการที่สาม สร้างดัชนีวัดสุขภาพในโรงเรียนว่า จะมีดัชนีวัดอย่างไร แล้วเอาดัชนีวัดซ้ำทุกปีๆ แล้วประกาศให้รู้ทั่วกันทุกปี เราต้องทำอะไรที่ทำให้เขาทำเอง ซึ่งก็คือ สร้างดัชนีว่า มีอะไรบ้าง ที่เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ แล้วให้มีการประเมิน ตรงนี้ก็จะมีการวิจัย เราผูกโยงงานวิจัยเข้ากับการวัด ผูกโยงกับพฤติกรรม จุดยืนของเราคือ การเชื่อมโยง

ประการที่สี่ ต้องปฏิรูปการเรียนรู้ ถ้าอยากจะเห็นโรงเรียนเป็น โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ในการปฏิรูปการเรียนรู้ เราต้องเปลี่ยนจากเอาวิชาเป็นตัวตั้ง มาเป็นเอาความจริงเป็นตัวตั้ง ความจริงของชีวิต ของชุมชน ของสังคม แล้วเรียนรู้จากของจริง เรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน แล้วการเรียนรู้ต้องเกิดจิตสำนึก คนราจะทำอะไรเพราะเกิดจากจิตสำนึก อย่าไปสอนเฉพาะเทคนิค สอนให้เกิดจิตสำนึก จัตสำนึกว่า ตัวเราเป็นอะไร สังคมเป็นอะไร สุขภาพของเราเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม กับเศรษฐกิจอย่างไร จนเกิดจิตสำนึกว่า ไม่ทำไม่ได้

ประการที่ห้า ความเป็นชุมชน ชุมชนหมายถึง การรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ แล้วจัดระบบการอยู่ร่วมกัน ความเป็นชุมชนจะแก้ความยากจน ทำให้จิตใจดีขึ้น สุขภาพจิตดี ครอบครัวดี วัฒนธรรมดี สิ่งแวดล้อมดี การเมืองดี และทำให้สุขภาพดี การรวมกลุ่มกันทำอะไรต่างๆ ทำให้เกิดความสำเร็จ โรงเรียนก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้นแล้ว พอเป็นอย่างนี้ สุขภาพของคนทั้งตำบล ของโรงเรียนด้วย มันก็ดี

 

นพ.ดำรงค์ บุญยืน
"คนดีต้องช่วยตัวเอง และครอบครัวได้
และสามารถแก้ปัญหาของชุมชน ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ อนามัย และสิ่งแวดล้อม"

การดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ต้องจับประเด็นสองประเด็นนี้ให้แตก

ประเด็นแรก : วิธีคิดเกี่ยวกับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพนั้น ไม่ใช่เอานักเรียนเป็นเป้าหมาย ของการรับบริการด้านสุขภาพเป็นสำคัญ แต่ต้องให้ทั้งนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน หน่วยราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา เข้ามาร่วมกระบวนการเรียนรู้ เพื่อช่วยกันยกระดับ คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของคนในโรงเรียน และในชุมชน ไม่ได้เน้นแต่เฉพาะนักเรียนเท่านั้น แต่เน้นที่ คน ให้เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ ซึ่งตรงกับเจตนารมณ์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่เน้นเรื่อง คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

ประเด็นที่สอง : ก่อนที่จะเริ่มมีแผนฯ 8 เราพัฒนาประเทศ โดยใช้รัฐเป็นหลัก หรือเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนา แต่ในขณะที่แผนฯ 8 บอกว่า ไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว ไม่ใช่คน ไม่ใช่รัฐ หรือราชการ เพราะฉะนั้นประเด็นนี้จำเป็นต้องทำความเข้าใจ ในการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ไปในการพัฒนา แปลงนโยบายไปสู่ภาคปฏิบัติ อย่าได้ยึดรัฐ ต้องยึดคน อาจจะมีปัญหาเรื่อง การยึดคนอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มาก เพราะในกรณีนี้ ผู้ปฏิบัติจะไม่ใช่บริหาร คนที่เป็นผู้บริหาร หรือรัฐ จะต้องทำหน้าที่เป็นเพียงคนที่จะคอยผลักดัน สนับสนุน ไปสร้างความเข้าใจให้กับคนที่จะเป็นผู้ปฏิบัติ อาทิ ครู นักเรียน ผู้นำชุมชน ในการทำโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเอง กลุ่มต่างๆ ที่อยู่ภายนอกรัฐ ก็มีส่วนทำให้โรงเรียน เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่ดีได้ หาใช่ราชการที่อยู่ที่ศาลากลาง หรือที่อำเภอ

การสร้างความเข้าใจใน 2 ประเด็นดังกล่าว จะทำให้เกิดความมั่นใจ ในการเคลื่อนตัวทางยุทธศาสตร์ ของการนำเอานโยบายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ แปลงไปสู่ภาคปฏิบัติ โดยที่จะไม่เกิดความเข้าใจสับสน และไปคนละทิศละทาง
ยุทธศาสตร์ที่จะทำให้คนไทย เป็นคนเก่ง เป็นคนดี และเป็นพลเมืองดี การสอบผ่านชั้นเรียน อาจถือได้ว่าเป็นคนเก่ง แต่อาจยังไม่เป็นคนดี เพราะคนดีต้องช่วยตัวเอง และครอบครัวได้ แต่คนดีก็ยังอาจไม่ใช้พลเมืองดี เพราะพลเมืองดีต้องช่วยผู้อื่นได้ ปกครองกันเองได้ และสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชน ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ อนามัย และสิ่งแวดล้อม สามารถคลี่คลายปัญหาได้ ถึงแม้จะไม่หมด แต่ปัญหาอะไรที่มันไม่ควรเกิด มันก็จะไม่เกิด ปัญหาอะไรที่ไม่ขยายตัวรุนแรง มันก็จะไม่ขยายตัวรุนแรงมากขึ้น ถ้าคนไทยไม่ได้อย่างนี้ ก็ไม่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต ของตัวเองให้สูงขึ้นได้

แนวคิดเกี่ยวกับความหมาย องค์ประกอบ และรูปแบบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

จากเอกสารในการประชุมนานาชาติ เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 4 ที่จัดขึ้น ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย องค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมายของ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพว่า เป็นสถานที่ซึ่ทุกคนในโรงเรียน ร่วมกันจัดโครงสร้าง และประสบการณ์ผสมผสานเชิงบวก เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และปกป้องสุขภาพของนักเรียน กิจกรรมนี้ประกอบด้วย การเรียนรู้เรื่องสุขภาพ ทั้งในและนอกหลักสูตร การจัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย และเอื้อต่อสุขภาพ การจัดให้มีการบริการที่เหมาะสม รวมทั้งการมีส่วนร่วมของครอบครัว และชุมชน ในการส่งเสริมสุขภาพ โดยองค์ประกอบที่สำคัญ ของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ มี 6 ประการ คือ
  1. นโยบายสุขภาพของโรงเรียน เป็นทิศทางที่ประกาศใช้อย่างชัดเจน และครอบคลุมทั้งโรงเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียน และการจัดสรรทรัพยากร เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
  2. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพในโรงเรียน หมายถึง อาคาร สนาม เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งพื้นที่รอบๆ โรงเรียน สุขาภิบาล และน้ำสะอาด
  3. สิ่งแวดล้อมทางสังคมของโรงเรียน เกิดจากความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างทุกคนที่เกี่ยวข้อง กับโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็น ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ครูอาวุโส เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ทางการศึกษา ตลอดจนบุคคลในชุมชน ซึ่งจะเป็นแบบอย่างทางด้านเจตคติ และค่านิยมที่ดี สำหรับทุกคนในโรงเรียน ด้วยพฤติกรรมที่แสดงออกมา
  4. ความสัมพันธ์ของโรงเรียน กับชุมชน เป็นความเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียน กับครอบครัวของนักเรียน และผู้นำชุมชน ซึ่งให้การสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เป็นสถานที่ที่ผู้ปกครอง สามารถให้คำปรึกษา และมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
  5. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลด้านสุขภาพ โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมในหลักสูตร และกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ ทัศนคติ ความเข้าใจ และทักษะในเรื่องสุขภาพ เป็นผลให้นักเรียนมีความเป็นตัวของตัวเอง และมีความรับผิดชอบต่อสุขภาพของตนเอง และชุมชน
  6. บริการสุขภาพในโรงเรียน เป็นบริการขั้นพื้นฐาน ตามความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่น ที่โรงเรียนจัดให้ แก่นักเรียน และบุคลากรในโรงเรียน โดยความร่วมมือ และการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ในการประชุม Intercontry Consultation on Health Promoting Schools ณ ประเทศไทย คณะผู้เชี่ยวชาญ ขององค์การอนามัยโลก ได้เสนอองค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เพิ่มเป็น 10 องค์ประกอบ โดยเน้นประเด็นการส่งเสริมสุขภาพที่สำคัญ ออกมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้
  1. นโยบายของโรงเรียน
  2. อนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
  3. การให้บริการอนามัยโรงเรียน
  4. การบริหารจัดการในโรงเรียน
  5. การให้คำปรึกษา และการสนับสนุนทางสังคม
  6. สุขศึกษาในโรงเรียน
  7. โครงการร่วมระหว่างโรงเรียน และชุมชน
  8. โภชนาการ และสุขาภิบาลอาหาร
  9. การออกกำลังกาย กีฬา และสันทนาการ
  10. การส่งเสริมสุขภาพบุคลากรของโรงเรียน


สรุปคำกล่าว เนื่องในการประชุมสัมมนาระดับชาติ
โดย Dr.E.B.Doberstyn
ผู้แทนองค์การอนามัยโลก ประจำประเทศไทย


วันที่ 10 มีนาคม 2542
ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กทม.

ในปี 1995 คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเรื่อง อนามัยและการส่งเสริมสุขภาพ ขององค์การอนามัยโลก ได้เสนอแนวความคิดเรื่อง โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพขึ้น โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ นอกจากจะหมายถึง การให้โอกาสต่างๆ ในการส่งเสริมสุขภาพแก่เด็กนักเรียนแล้ว ยังหมายรวมถึง บุคลากรผู้สอน และบุคลากรด้านการบริหารด้วย การให้บริการ และการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ในโรงเรียน การให้คำปรึกษาและสังคมสงเคราะห์ ตลอดจนการให้บริการเชิงรุก ในโครงการต่างๆ เพื่อชุมชนของโรงเรียนเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

นักจากวันนี้ไป ท่านทั้งหลายมีภารกิจที่สำคัญรออยู่ข้างหน้า ในการกำหนดกรอบนโยบายระดับชาติ เรื่อง โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และโอกาสนี้ ข้าพเจ้าใคร่ขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญอีก 2 เรื่อง ประการแรก ในการพิจารณาแนวทาง และวิธีการ ที่จะให้เด็กนักเรียนมีทักษะ และกำลังที่จำเป็นต่อการตัดสินใจ ด้านสุขภาพอย่างชาญฉลาด ขอได้โปรดคำนึงถึงเด็ก ที่อยู่นอกระบบโรงเรียนด้วยเช่นกัน วิธีที่จะเข้าถึงเด็ก ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาในโรงเรียนได้ ด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม รวมทั้งเด็กข้างถนน และเด็กที่ถูกบังคับให้ทำงาน เพื่อยังชีพตนเอง และครอบครัว ซึ่งควรต้องได้รับความเอาใจใส่ เป็นพิเศษ ประการที่สอง การให้ความสนใจแก่เด็กหญิง เนื่องจากชีวิตของเด็กหญิง มีความสลับซับซ้อนกว่าเด็กชาย แต่มักจะเป็นรองเด็กชายอยู่เสมอ ทำอย่างไรที่จะให้ความช่วยเหลือ เป็นพิเศษแก่เด็กหญิง ให้สามารถตัดสินใจอย่างฉลาดได้ ในเรื่องสุขภาพของตนเอง เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เด็กและสตรีที่มีทักษะเพียงพอที่จะจัดการ กับสิ่งท้าทานยากลำบากที่เผชิญอยู่ จะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองให้ดีขึ้น และเลี้ยงดูบุตรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ด้วยเช่นกัน เป็นที่พิสูจน์แล้วว่า การให้สตรีได้รู้ และมีทักษะชีวิตในทางการพัฒนา จะช่วยให้สตรีเหล่านี้ เป็นมารดาที่ดีได้ อย่างแน่นอน


สำหรับรูปแบบในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในประเทศไทย ดร.ประภาเพ็ญ สุวรรณ และคณะ ได้ทำการศึกษาโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และได้เสนอรูปแบบการดำเนินงาน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่ประยุกต์จาก ACCESS Model ที่พัฒนาโดน Stone (1990) ดังนี้
Administration โรงเรียนมีกฎ ระเบียบ นโยบาย แผนงาน เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพ มีการเตรียมพร้อมบุคลากร มีการอบรมครู มีการจัดองค์การให้มีสุขภาพดี มีโครงการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ครู และบุคลากรอื่นๆ ในโรงเรียน
Curricular โรงเรียนมีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน ทั้งในหลักสูตร และนอกหลักสูตร ให้ทันสมัย สอดคล้องกับสภาะปัญหา
Community การดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียน ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น คณะกรรมการโรงเรียน สมาคมผู้ปกครอง การจัดกิจกรรมกีฬา งานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้เรียนรู้พฤติกรรม ในการส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ในสังคม หรือชุมชน เช่น ปัญหายาเสพติด การสูบบุหรี่ โรคเอดส์ มีกิจกรรมพัฒนาให้ชุมชน มีความเข้มแข็ง
Environment การสร้างให้โรงเรียนมีสิ่งแวดล้อม เพื่อชีวิตที่มีความสุข เช่น มีนโยบายปลอดบุหรี่ ปลอดสุรา มีอุปกรณ์และสถานที่ที่ปลอดภัยให้นักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา มีอาหารเพื่อสุขภาพ ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างบุคคล
School Services มีบริการที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ เช่น การตรวจสุขภาพ การให้คำปรึกษา แนะนำทางด้านสุขภาพให้กับนักเรียน และบุคลากรอื่นๆ ในโรงเรียน การบริการด้านวิชาการ ออกกำลังกาย การบริการด้านอาหาร

โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในปัจจุบัน

แม้ว่า แนวคิดเกี่ยวกับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จะเริ่มเข้าาสู่ประเทศไทยได้ไม่นาน และความเข้าใจในเรื่องนี้ ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ยังไม่ค่อนชัดเจน ทั้งฝ่ายการศึกษา และฝ่ายสาธารณสุข ตามผลการวิจัยของ ดร.ประภาเพ็ญ และคณะ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา ต่อสิ่งของใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า มีหลายๆ โรงเรียนในประเทศไทย ที่มีการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาไปสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพได้ในระดับหนึ่ง ถึงแม้จะไม่ครบทุกองค์ประกอบ และครบตามรูปแบบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเหล่านี้ ถือเป็นโรงเรียนที่มีศักยภาพ ที่จะพัฒนาไปสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในความฝัน
โรงเรียนที่มีการดำเนินโครงการหนูรักผักสีเขียว เป็นตัวอย่างของการดำเนินงาน ที่มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ที่เน้นในองค์ประกอบทางด้านอาหาร และโภชนาการ โดยใช้กิจกรรมหนูรักผักสีเขียว ซึ่งอาศัยความร่วมมือร่วมใจ ในการทำงานที่มีความเข้าใจ ตรงกันทุกฝ่าย ทั้งผู้บริหาร ผู้ปกครอง ครูผู้สอน นักเรียน และชุมชน มีการผลิตและการส่งเสริมให้นักเรียนได้กินผักสีเขียว รวมไปถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และอื่นๆ ผ่านโครงการอาหารกลางวัน และขยายสู่ชุมชน ทำให้เด็กและชุมชนรู้จักการทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง รู้จักเลือกกินอาหารที่ดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อผลิตได้มาก และเหลือจากการบริโภค ก็จำหน่ายสู่ตลาด เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับนักเรียน โรงเรียน และครอบครัว

Home | About Our School | Admissions | Chinese Academics | Programs | Activities | Calendar of Events | INFO NEWS | Links | Contact Us

Swimming is great for fun or competition.

People swimming; Size=130 pixels wide

Time to cool off from the summer heat.

People swimming; Size=130 pixels wide

Dancing is one of our more popular activities.

People dancing; Size=130 pixels wide

We have several dance clubs.

People dancing; Size=130 pixels wide

Contact us for additional information and dates about activities we offer.