| ![]() |
![]() |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
เสด็จพระราชสมภพที่โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น
เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 เป็นพระโอรสองค์ที่
3 ในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช
กรมหลวงสงขลานครินทร์
(สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร
อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาล ตะละภัฎ
(ชูกระมล) (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ทรงมีพระนามขณะนั้นว่า
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช
พระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช
คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เมื่อ พ.ศ. 2471 ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก
ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยม
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี
สมเด็จพระพี่นางเธอ
และสมเด็จพระเชษฐาธิราช
โดยประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต
ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุไม่ถึง
2 ปี พ.ศ. 2475 เมื่อเจริญพระชนมายุได้
5 ปี เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ
ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยพระบรมราชชนนี
พระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช
เพื่อการศึกษาและพระพลานามัยของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช
จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา
ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน
พ.ศ. 2477 ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนเอกอล นูเวล
เดอ ลา ซืออิส โรมองต์ เมืองแชลลี-ซือ-โลซาน พ.ศ. 2477 เมื่อพระองค์เจ้าอานันทมหิดล
ผู้เป็นพระบรมเชษฐาธิราช
เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่
8 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าภูมิพลอดุยเดช
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ได้โดยเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
เสด็จนิวัตประเทศไทย
เป็นเวลา 2 เดือน โดยประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึงปี
พ.ศ. 2488 ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์
จากโรงเรียนยิมนาส คลาซีค
กังโตนาล แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ
ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์ โดยเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง
ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน
ณ พระที่นั่งบรมพิมาน
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าภูมิพลอดุยเดช
จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น
แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา
จึงทรงอำลาประชาชนชาวไทยเสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อ
ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม
แต่เปลี่ยนสาขาจากวิทยาศาสตร์ไปเป็นวิชากฎหมายและรัฐศาสตร์ ระหว่างประทับในต่างประเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
กิติยากร และทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อวันที่
3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ได้เข้ารักษาพระองค์
ณ โรงพยาบาลในเมืองโลซาน
โดย ม.ร.ว.สิริกิติ์ ได้มีโอกาสเยี่ยมเป็นประจำจนหายประชวร
นับตั้งแต่นั้นมาทั้งสองพระองค์ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหมั้นกับ
ม.ร.ว.สิริกิติ์ เมื่อวันที่
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครในปีถัดมา
โดยประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
ต่อมาวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์
กิติยากร และสถาปนาหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ขึ้นเป็น
สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น
ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มหิตลาธิเบศรามาธิบดี
จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช
บรมนาถบพิตร พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า
"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม
เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
และในโอกาสนี้ทรงเฉลิมเกียรติพระราชินีสิริกิติ์ขึ้นเป็น
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินี เมื่อ พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา
15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
มีสมณนามว่า ภูมิพโลภิกขุ
และเสด็จฯ ไปประทับจำพรรษา
ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย
เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
5 ธันวาคม ปีเดียวกันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา
4 พระองค์ ดังนี้
พระราชดำรัส "ถ้าครูไม่ห่วงประโยชน์ที่ควรจะห่วง หันไปห่วงอำนาจ ห่วงตำแหน่ง ห่วงสิทธิ์ และห่วงรายได้กันมากเข้าๆ แล้วจะเอาจิตใจที่ไหนมาห่วงความรู้ ความดี ความเจริญของเด็ก
ความห่วงใยในสิ่งเหล่านั้นก็จะค่อยๆบั่นทอนทำลาย ความเป็นครูไปจนหมดสิ้นจะไม่มีอะไรดีเหลือไว้ พอที่ตัวเองจะภาคภูมิใจหรือผูกใจใครไว้ได้
ความเป็นครูก็จะไม่มี พระราชทานแก่ครูอาวุโสในโอกาสเข้าเฝ้าฯ วันแม่แห่งชาติ
12 สิงหาของทุกปี พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ หม่อมราชวงศ์
กัลยาณกิติ์ กิติยากร
ต่อมา
เมื่อหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์
มีอายุได้ 5 ขวบ ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรก
ในชั้นอนุบาลที่โรงเรียน
ราชินี เมื่อปี 2480 และเมื่อสงครามมหาเอเซียบูรพา
ได้แผ่ขยายมาถึงประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร ถูกโจมตีทางอากาศบ่อยครั้ง
ทำให้การคมนาคม ขาดความสะดวกและปลอดภัยหม่อมเจ้านักขัตรมงคล
จึงให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
ย้ายไปเรียนที่ โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์
ในชั้นประถมศึกษา ปีที่
2 จนถึงชั้นมัธยมศึกษา
เพราะอยู่ใกล้บ้าน และที่นี่หม่อมราชวงศ์
สิริกิติ์ ได้เริ่มเรียนเปียโน
ซึ่งสามารถเรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ
นอกเหนือไปจาก ความสามารถทางด้าน
ภาษาต่างประเทศคือ ภาษาอังกฤษ
และฝรั่งเศส ที่สามารถเรียนได้ดีเช่นกัน เมื่อสงครามโลก
ครั้งที่ 2 สงบลง รัฐบาลไทยซึ่งขณะนั้นมี
พันตรีควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ได้ทูลขอให้หม่อมเจ้านักขัตรมงคล
ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำ
สำนักเซ็นต์เยมส์ ประเทศอังกฤษ
เมื่อปี 2489 โดยได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย
ขณะนั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
มีอายุได้ 13 ปีเศษและเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3 แล้ว ระหว่างที่อยู่ในประเทศอังกฤษ
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
ได้ศึกษาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส
กับครูพิเศษ ควบไปกับการเรียนเปียโน
ต่อมาไม่นานนัก หม่อมเจ้านักขัตรมงคล
ได้ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่ง
เอกอัครราชทูต ประจำประเทศเดนมาร์ก
และต่อไปที่ประเทศฝรั่งเศส
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
ยังคงเรียนเปียโนเพื่อหาโอกาส
เข้าศึกษาต่อ ในวิทยาลัยการดนตรี
ที่มีชื่อของกรุงปารีส
และที่ประเทศ ฝรั่งเศสนี้เองที่
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดช (ขณะนั้นทรงเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว
และเสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์)
ซึ่งทรงโปรดการ เสด็จประพาสกรุงปารีส
โดยทางรถยนต์จากสวิสเซอร์แลนด์
เพื่อทอดพระเนตรรถยนต์
แทนคันเดิม ที่รับราชการสนอง
พระเดชพระคุณมาเป็นเวลานาน
และการแสดงดนตรีของคณะที่มีชื่อเสียงอยู่บ่อย
ครั้ง และในระหว่าง ที่เสด็จฯ
มายังกรุงปารีส ก็จะทรง
ประทับที่สถานทูตไทย
ประจำประเทศฝรั่งเศส
เช่นเดียวกัน กับนักเรียนไทยคนอื่น
และเนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการดนตร
ีเป็นพิเศษ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เอง
ก็สนใจ และรอบรู้เข้าใจ
ในศิลปะการดนตรีเป็นอย่างดี
ทำให้เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย
จนกลายเป็น ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นในที่สุด
ในปี 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์
ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
และทรงเข้ารับ การรักษาพระองค์ในโรงพยาบาล
โดยมีหม่อมหลวงบัว และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
เข้าเฝ้าฯ ถวายการพยาบาลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ
ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่สวิสเซอร์แลนด์นั้น
สมเด็จพระราชชนนี ได้ทรงรับเป็นธุระ
จัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาใน
Pensionnat Rinate Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ
ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง
ของโลซานน์ จนเมื่อหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจาก
อาการประชวรแล้ว ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
เป็นการภายในเมื่อวันที่
19 กรกฎาคม 2492 ภายหลังจากพิธีหมั้นผ่านไป
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
ยังคงศึกษาอยู่ต่อจนเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จฯนิวัติพระนคร
จึงทรงโปรดให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ตามเสด็จ
พระราชดำเนินกลับมาด้วย
เพื่อร่วมในพระราชพิธีถวายพระเพลิง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ในเดือนมีนาคม 2493 ต่อมาในวันที่
28 เมษายน ปีเดียวกันนั้น
ทรงโปรดให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น
ณ วังสระปทุม และโปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็น
สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
ครั้นเมื่อ มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดช โปรดให้เฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระราชินี
สิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินี หลังจากนั้นทั้ง
2 พระองค์ ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิสเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง
เพื่อทรงรักษาพระองค์
และทรงศึกษาต่อ และได้เสด็จฯกลับมาประทับที่ประเทศไทยในปี
2495 ในปี 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จฯ ออกบรรพชาตามโบราณราชประเพณีเป็นเวลา
15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม
ถึง 5 พฤศจิกายน ในระหว่างที่ผนวชอยู่นี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี
เป็นผู้สำเร็จราชการ
แทนพระองค์ ซึ่งต่อมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โปรดฯให้เฉลิมพระอภิไธย
เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เมื่อ
5 ธันวาคมศกนั้น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส
และพระราชธิดารวม 4 พระองค์คือ 1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา
สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติ
ณ สถานพยาบาล มองซัวซี
นครโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
เมื่อวันที่ 5 เมษายน
2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจาก
ฐานันดรศักดิ์ เพื่อสมรสกับนายปีเตอร์
เลด เจนเซ่น ชาวอเมริกัน
ทรงมีพระโอรสและพระธิดา
3 องค์ ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย
เห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป
จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก
และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่
คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2515
แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป
จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519 คณะกรรมการอำนวยการ
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่า
ควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที
จึงได้กำหนดวันแม่ใหม
่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ วันที่
12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ
และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า
คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา
มาจากการออกเสียงของเด็ก
โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่
(Bilabial) ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรก
ที่เด็กสามารถทำเสียงได้
โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง
ดังเช่น ภาษาไทย แม่ ภาษาจีน ม๊ะ หรือ
ม่า ภาษาฝรั่งเศส la mere
(ลา แมร์) ภาษาอังกฤษ mom , mam ภาษาโซ่ ม๋เปะ ภาษามุสลิม มะ ภาษาไทใต้คง เม เป็นต้น 1.เพลงกล่อมเด็กมีหน้าที่กล่อมให้เด็กหลับโดยตรง
ดังนั้นจึงเป็นเพลงที่มีทำนองฟังสบาย
แสดงความรักใคร่ห่วงใยของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็ก -ถ่ายทอดความรู้ต่าง
ๆ ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ
การดำเนินชีวิต การทำมาหากินของสังคมตนเอง
การสร้างค่านิยมต่าง
ๆ รวมทั้งการระบายอารมณ์และความในใจของผู้ร้อง นอกจากนี้พบว่า
ส่วนมากแล้วเพลงกล่อมเด็ก
มักมีใจความแสดงถึงความรักใคร่ห่วงใยลูก
ซึ่งความรักและความห่วงใยนี้
แสดงออกมาในรูปของการทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเก็บเด็กไว้ใกล้ตัว
บทเพลงกล่อมเด็กจึงเป็นบทเพลงที่แสดงอารมณ์
ความรักความผูกพันระหว่างแม่-ลูก
ซึ่งแต่ละบทมักแสดงถึงความรักความอาทร
ทะนุถนอม ที่แม่มีต่อลูกอย่างซาบ นกเขาขัน นกเขาเอย ขันแต่เช้าไปจนเย็น
ขันไปให้ดังแม่จะฟังเสียงเล่น
เนื้อเย็นเจ้าคนเดียวเอย กาเหว่า กาเหว่าเอย ไข่ให้แม่กาฟัก
แม่กาหลงรัก คิดว่าลูกในอุทร คาบข้าวมาเผื่อ
คาบเหยื่อมาป้อน ปีกหางเจ้ายังอ่อน
สอนร่อนสอนบิน แม่กาพาไปกิน ที่ปากน้ำแม่คงคา
ตีนเหยียบสาหร่าย ปากก็ไซ้หาปลา กินกุ้งกินกั้ง
กินหอยกระพังแมงดา กินแล้วบินมา
จับต้นหว้าโพธิทอง นายพรานเห็นเข้า
เยี่ยมเยี่ยมมองมอง
ยกปืนขึ้นส่อง หมายจ้องแม่กาดำ ตัวหนึ่งว่าจะต้ม
ตัวหนึ่งว่าจะยำ แม่กาตาดำ
แสนระกำใจเอย วัดเอ๋ยวัดโบสถ์
มีต้นข้าวโพดสาลี ลูกเขยตกยาก แม่ยายก็พรากเอาตัวหนี ข้าวโพดสาลี ต่อแต่นี้จะโรยรา นอนไปเถิด นอนไปเถิดแม่จะกล่อม
นวลละม่อมแม่จะไกว ทองคำแม่อย่าร่ำไห้
สายสุดใจเจ้าแม่เอย เจ้าเนื้อละมุน เจ้าเนื้อละมุนเอย
เจ้าเนื้ออุ่นเหมือนสำลี แม่มิให้ผู้ใดต้อง
เนื้อเจ้าจะหมองศรี ทองดีเจ้าคนเดียวเอย เจ้าเนื้ออ่อน เจ้าเนื้ออ่อนเอย
อ้อนแม่จะกินนม แม่จะอุ้มเจ้าออกชม
กินนมแล้วนอนเปลเอย
|
![]() |