imga0444.jpg

old home
Activities
BWCS
WEBBOARD
KING&QUEEN
BWCS NEWS
Chinese Academics
ANUBAN CHILD
INFO NEWS
Programs
SPORT
Activities
Buddha Bless
Calendar Plan
Links
Contact Us

Information and News

dsc00474.jpg

dsc00467.jpg

แล้ววันที่  19 สิงหาคม อย่าลืมไปลงประชามติ รับร่างรัฐธรรมนูญด้วย
จะรับไม่รับก็แล้วแต่สิทธิของท่าน คิดเอง ทำเอง อย่าให้ใครมาชี้นำ
 กิจกรรมสำหรับเยาวชน
   Science Activities
     เปิดโลกแห่งจินตนาการ ใน “ดินแดนวิทยาศาสตร์มหัศจรรย์”
พบกับเครื่องเล่นทางวิทยาศาสตร์ใหม่ล่าสุดจากต่างประเทศ ฝึกทักษะ และทดสอบความเป็นอัจฉริยะกับ 10 ห้องทดลองใน  “Science Lab”
      สนุกสนานไปกับละครวิทยาศาสตร์ ตอบปัญหาชิงรางวัล และกิจกรรมสาระบันเทิงมากมาย และคงไม่พลาดกับการฝึกประสบการณ์การเป็นนักจัดรายการวิทยุ
เปิดจินตนาการโลดแล่นกับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่จะไม่ลืม

ทัพครูจีน600คนเดินทางถึงไทย 21พ.ค.นี้ สอนภาษาจีนให้เด็กไทย
19 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 13:00:00
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา

สพฐ.รุกพัฒนาขีดความสามารถของเด็กไทย ด้วยการเปิดตัวหนังสือชุดสัมผัสภาษาจีน สอนเด็กไทยในปีการศึกษา2550 ระบุ 21 พ.ค.นี้ รมว.ศึกษาจีน พร้อมคณะครูอาสาสมัครจีน 600 คนจะเดินทางถึงไทย เพื่อร่วมจัดการเรียนการสอนภาษาจีน "คุณหญิงกษมา"เชื่อการเรียนการสอนภาษาจีนในไทย จะได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบมากขึ้น

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.)เปิดเผยว่า จากการที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ได้ตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็นของการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาธารณรัฐประชาชนจีน นับวันจะมีบทบาทและมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจของโลก

 ในส่วนของประเทศไทยในอนาคตจะต้องมีการพึ่งพาและการแข่งขันในเรื่องของการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ความจำเป็นต้องใช้ภาษาจีน ในการติดต่อสื่อสารร่วมมือทางการค้า เศรษฐกิจ และเพื่อใช้ในภาคบริการต่าง ๆ ของสังคม ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยขาดแคลนและมีความต้องการผู้มีความรู้ความสามารถด้านภาษาจีนจำนวนมาก

 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการและก้าวสู่มาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยในปี 2550 สาธารณรัฐ ประชาชนจีนได้ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือประเทศไทยในการจัดหาครูอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของจีนเพื่อมาสอนภาษาจีนในสถานศึกษาต่าง ๆ ประจำปีการศึกษา 2550 จำนวน 600 คน ให้ทุนครูไทยไปอบรมที่ประเทศจีนประมาณ 300 คน และทุนดูงานสำหรับผู้อำนวยการโรงเรียนและอธิการบดีอีกประมาณ 200 คน

 "เพื่อเป็นการต้อนรับ Mrs. Xu Lin ผู้อำนวยการใหญ่ของสำนักส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งมีฐานะเทียบเท่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจีน อัครราชทูตจีน ผู้บริหารการศึกษาของจีนและคณะครูอาสาสมัครจีน สพฐ.จึงได้เชิญ นายวิจิตร  ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา ธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานการต้อนรับครูอาสาสมัครจีน และแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือเรียนชุดสัมผัสภาษาจีน  ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2550 เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมรัชดาซิตี้ กรุงเทพมหานคร "คุณหญิงกษมา กล่าว

  ทั้งนี้  "หนังสือเรียนชุดสัมผัสภาษาจีน ” นี้จัดทำโดยสำนักพิมพ์ Higher Education Press (HEP) สาธาณรัฐประชาชนจีน ร่วมกับ สพฐ. และองค์การค้าของ สกสค. เป็นผู้จัดจำหน่าย ซึ่งเป็นหนังสือเรียนภาษาจีนที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย และจะนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนในสถานศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไป

            “ นอกจากนี้ในวันเดียวกันยังมีการประชุมหารือความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับ Mrs. Xu Lin ผู้อำนวยการใหญ่ของสำนักส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน  (หรือ Hanban) อัครราชทูตจีน ผู้บริหารการศึกษาของจีน ในประเด็นต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย และความร่วมมือด้านอื่น ๆ อันจะส่งผลให้การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง รวมทั้งผู้เรียนก็จะมีขีดความสามารถทางภาษาจีนมากยิ่งขึ้นในอนาคต ”  เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

ประวัติศาสตร์ของจังหวัดชลบุรี ในสมัยต่างๆ
ตามประวัติศาสตร์ของจังหวัดชลบุรีนั้น แบ่งเป็นยุคสมัยได้ 4 ยุค ได้แก่
ชลบุรียุคแรก | ชลบุรีสมัยอยุธยา | ชลบุรีสมัยธนบุรี | ชลบุรีสมัยรัตนโกสินทร์
....................................................................................................................................................
ยุคแรก


การค้นพบแหล่งโบราณคดีที่โคกพนมดี อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรีใน พ.ศ. 2522 ตลอดจนร่องรอยของชุมชนโบราณก่อน
สมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นชุมชนที่พึ่งพาอาหารจากทะเลเป็นสำคัญ รวมทั้งโครงกระดูกมนุษย์จำนวน 173 โครงและวัตถ
ุโบราณเช่น เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินขัด เครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปลายแบบเชือกทาบ เครื่องประดับลูกปัดและเปลือก
หอย และหินมีค่าทำให้ทราบว่าชลบุรีเป็นดินแดนที่มีผู้อาศัยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หรือตั้งแต่ยุคหินใหม่แล้ว ชุมชน
ที่มีการพัฒนาเป็นเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ยุคแรกๆของจังหวัดชลบุรีได้แก่ เมืองพระรถ เมืองพญาเร่ และเมืองศรีพโล

เมืองพระรถ
เป็นชุมชนเมืองโบราณตั้งอยู่ตรงหน้าพระธาตุ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรีในปัจจุบัน เป็นเมืองขนาดใหญ่ตั้งอยู่ระหว่างที่สูงและที่
รุ่มบรรจบกันลักษณะเมืองเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้ามุมมน มีคันดินคูน้ำล้อมรอบ ..มีสระน้ำอยู่ภายในตัวเมือง บริเวณตัวเมือง
เป็นแหล่งที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกข้าวแบบทดน้ำ มีลำน้ำไหลผ่านหลายสาย ..ทำให้เมืองพระรถเป็นศูนย์กลางของการ
คมนาคมของท้องถิ่นนักโบราณคดีเชื่อว่าเมืองพระรถเป็นเมืองในสมัยทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 ) .และเจริญสืบ
เนื่องมาจากสมัยลพบุรี (พุทธสตวรรษที่ 17-18) เมืองพระรถมีตำนานที่เป็นที่เล่าขานสืบต่อกันมาอยู่เรื่องหนึ่ง คือ เรื่องพระ
รถ - เมรี ซึ่งเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่อาศัยเหตุการณ์ และภูมิประเทศสมัยนั้นเป็นโครงเรื่อง เป็นเรื่องที่ปรากฏอยู่ในหนัง
สือ ปัญญาสชาดกและเป็นบทละครนอกสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา โบราณสถานที่พบที่เมืองพระ
รถ ได้แก่ ร่องรอยของผังเมือง และเนินพระธาตุ ส่วนโบราณวัตถุ ได้แก่เครื่องปั้นดินเผาพร้อมทั้งเศษเปลือกหอยแครงชิ้น
ส่วนของพระนารายสวมหมวกแขก พระพุทธรูปแบบทวารวดีปางนาคปรก หินบดหยาบ กังสดาล และแท่นพระพุทธรูปทำ
ด้วยหินขนาดใหญ่ โบราณวัตถุชิ้นเล็กๆ .ได้แก่พระพุทธรูปสำริดแบบลพบุรี .พระพุทธรูปศิลาแบบทวารวดี เป็นพระพุทธรูป
ปางประทับยืนเหนือตัวพระพนัสบดี โบราณวัตถุที่พบเชื่อว่าเป็นของสมัยทวารวดีลงมาถึงสมัยลพบุรี(พุทธสตวรรษ ที่ 12-18)
รูปสถานที่ต่างต่างดูได้ที่ส่วนของท่องเที่ยวชลบุรีครับ ......

เมืองพญาเร่
ตั้งอยู่ที่ตำบลบ่อทอง อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี ในปัจจุบันเป็นเมืองในสมัยทวารวดีเช่นเดียวกัน ตั้งอยู่ในเขตที่สูง ทางทิศตะวันออก
เฉียงใต้ ้ของเมืองพระรถห่างกันประมาณ 32 กม. ลักษณะกำแพงเมืองเป็นรูปเสาเลขหนึ่งไทย เป็นรูปรี 2 ชั้น คูเมืองและคันดิน
ของตัวเมืองชั้นนอกทางด้านเหนือยังเห็นได้ชัดเจน ส่วนด้านอื่นลบเลือนไปมากแล้ว ส่วนเมืองชั้นในที่เป็นเมืองที่แท้จริงยังดีอยู่
เนื่องจากภายในเมืองพญาเร่ไม่พบโคกเนินที่เป็นศาสนสถาน รวมทั้งไม่ค่อยพบเศษเครื่องปั้นดินเผา จึงมีผู้สันนิษฐานว่าเมือง
พญาเร่คงไม่ใช่เมืองที่อาศัยอยู่กันอย่างต่อเนื่อง แต่คงเป็นเมืองชั่วคราวหรือเป็นเมืองที่อยู่บนเส้นทางทหาร ติดต่อทางบกระหว่าง
ชลบุรีกับเมืองระยองในสมัยโบราณ ปัจจุบันชาวบ้านได้เข้าไปปลูกบ้านอาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้หมดแล้ว

เมืองศรีพโล
ตั้งอยู่ในเขต บ้านศรีพโล ต.หนองไม้แดง อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี ตัวเมืองตั้งอยู่บนเขา ห่างจากเมืองพระรถประมาณ 20 กม.ตำแหน่ง
ของเมืองอยู่ห่างจากทะเลประมาณ 700 ม. รูปทรงของเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม เคยมีกำแพงดินโอบรอบ แต่ปัจจุบันกำแพงนี้ถูกทำลาย
ไปแล้ว โบราณวัตถุที่พบที่เมืองศรีพโลคือพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปสำริด ขันทองคำ จระเข้ปูน เครื่องปั้นดินเผา ซึ่งมีทั้ง
เครื่องปั้นดินเผาชนิดเคลือบของสุโขทัย และเครื่องปั้นดินเผาแบบจีนสมัยราชวงศ์เหม็ง โดยเฉพาะที่วัดศรีพโล ซึ่งตั้งอยู่บนชาย
ฝั่งทะเลได้พบเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมาก เช่น กระปุก ถ้วยชามเคลือบแบบสุโขทัย กำไรสำริดชามเคลือบบางๆ ของญวนชนิด
ที่พบในเรือจมที่อ่าวไทย และขวานหินขัด จากหลักฐานโบราณวัตถุที่ค้นพบตลอดจนเรื่องเล่าขานในนิทานพื้นบ้านเรื่องเศรษฐีพโล
และตาอู่แพ ทำให้มีผู้สันนิษฐานว่าเมืองศรีพโลคงเป็นเมืองที่มีความรุ่งเรืองอยู่สมัยอยุธยาตอนต้น หรือประมาณพุทธสตวรรษที่ 20 และคงเป็นชุมชนเมืองที่เกี่ยวกับการค้าขายทางทะเล ประชาชนประกอบอาชีพค้าขายทางเรือ มีการติดต่อค้าขายกับชุมชน
ใกล้เคียงและเป็นที่แวะจอดเรือสำเภาที่ไปมาค้าขายระห่างประเทศไทยกับต่างประเทศ ปัจจุบันนอกจากเมืองศรีพโล แล้วในสมัย
อยุธยาตอนต้นยังปรากฏเมืองปลาสร้อย เมืองบางพระเรือ และเมืองบางละมุงขึ้นด้วย นักโบราณคดีให้ความเห็นว่าทั้งสามเมือง
นี้คงเป็นชุมชนที่เกิดขึ้นภายหลังเมืองศรีพโล จึงทำให้เมืองศรีพโลไม่เหมาะเป็นเมืองท่าอีกต่อไป หารค้าขายและความเจริญของ
ชุมชนเมืองศรีพโลจึงได้ขยายไปทางใต้ คือเมืองบางปลาสร้อยซึ่งมีทำเลดีกว่า ชุมชนเมืองบางปลาสร้อยจึงเจริญขึ้นแทนเมือง
ศรีพโล ( มีผู้สันนิษฐานว่าเมืองบางปลาสร้อยคือชื่อเดิมของอ.เมืองชลบุรี ทั้งนี้เพราะ อ.เมืองชลบุรีตั้งอยู่ที่ ต.บางปลาสร้อย )

ชลบุรีสมัยอยุธยา


....เรืองราวของ จ.ชลบุรี ได้ปรากฎเป็นครั้งแรกในสมัยอยุธยา โดยปรากฏอยู่ในพงศวดารสมัยอยุธยา ดังนี้ เมื่อ พ.ศ. 1927-1929
ในรัชสมัยของสมเด็จพระรามเมศวร กองทัพกัมพูชาได้ยกพลมาถึงชลบุรี และกวาดต้อนครอบครัวชาวชลบุรี และเมืองจันทบูร ประ
มาณ 6000-7000 คนไปเมืองกัมพูชา และในปี พ.ศ. 2230 ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทหารกัมพูชาได้ยกทัพมากวาดต้อน
ครอบครัวชาวชลบุรี อีกครั้งหนึ่ง หลังจากเหตุการณ์ทั้งสองครั้งแล้ว ..ได้เกิดเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์..ซึ่งเกี่ยวข้องกับชลบุรีอีก
กล่าวคือในปี พ.ศ. 2309 เมื่อกองทัพพม่าได้ปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา กรมหมื่นเทพพิพิธซึ่งเป็นพระเจ้าลูกเธอในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บรมโกศ ..และถูกเนรเทศไปลังกา ..ได้กลับมาเกลี้ยกล่อมรวบรวมชายฉกรรณ์ทางหัวเมือง .ด้านตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี ระยอง
ฉะเชิงเทรา บางละมุง ชลบุรี และปราจีนบุรี เข้าร่วมเป็นกองทัพ อ้างว่าจะยกไปช่วยกรุงศรีอยุธยารบพม่า ชาวชลบุรีได้ให้ การสนับ
สนุนเข้าร่วมกองทัพของกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นจำนวนมากจนชลบุรีแทบกลายเป็นเมืองร้าง .กองทัพของกรมหมื่นเทพพิพิธรวบรวม
ไพล่พลได้ประมาณ 2000 คนยกไปตั้งฐานที่มั่นที่ปราจีนบุรี แล้วจึงมีหนังสือกราบบังคมทูลสมเด็จพระเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ .ณ.กรุง
ศรีอยุธยา ขออาสาช่วยป้องกันพระนครแต่ ..พระเจ้าเอกทัศน์ทรงดำริว่ากรมหมื่นเทพพิพิธ .เป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูงถูกเนรเทศมาแล้ว
ครั้งหนึ่ง การมาเรียกระดมพลเป็นกองทัพโดยพลการถือเป็นการทำผิดกฏมนเทียรบาล จึงโปรดเกล้าให้ยกกองทัพจากกรุงศรีอยุธยา
ไปปราบกรมหมื่นเทพพิพิธ และเกิดการต่อสู้จนย่อยยับไปทั้งสองฝ่าย จากนั้นพม่าได้ส่งกองทัพออกไปโจมตีกองทัพกรมหมื่นเทพ
พิพิธ ซึ่งบอบช้ำอยู่แล้วจนแตกกระจายไป เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้เมืองฉะเชิงเทราและชลบุรีกลายเป็นเมืองร้างอยู่ระยะหนึ่ง

ชลบุรีสมัยรัตนโกสินทร์

พระชลบุรี ( หวัง สมุทรานนท์ ) ซึ่งได้รับแต่ตั้งให้เป็นผู้รักษาเมืองชลบุรีตั้งแต่ปลายสมัยธนบุรี ต่อมาได้รับเลื่อนยศเป็นพระยาวังสัน
ในสมัยพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตระกูลสมุทรานนท์ได้ปกครองเมืองชลบุรีเรื่อยมาจนถึงช่วงการปฏิรูปการปกครองในสมัยสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในสมัยรัตนโกสิน พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชลบุรี ในเรื่องสำคัญหลายๆเรื่องดังนี้

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการตั้งเมืองพนัสนิคม
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวนครเวียงจันทร์ คือพระอินทอาษา ได้พาครอบครัวชาวเวียงจันทร์
( ที่ไม้เข้ากับเจ้าอนุวงศ์ ) เข้ามาขอพึ่ง
พระบรมโพธิสมภาร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระอินทอาษา และครอบครัวลาวออก มาตั้งภูมิลำเนาอยู่
ระหว่างเมืองชลบุรีกับฉะเชิงเทรา จาก
ความขยันขันแข็งรู้จักสร้างบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นของพระอินทอาษาและครอบครัว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงเห็นสมควรให้ยกหมู่บ้านใน
ตำบลต่างๆ รวมทั้งเมืองพระรถด้วยขึ้นเป็นเมืองในปี พ.ศ. 2371 เรียกว่า " เมืองพนัสนิคม " และโปรดเกล้าฯ
ให้พระอินทอาษาเป็นผู้สำเร็จราชการเมือง เชื้อสายของพระอินทอาษา ( ต้นตะกูลทุมมานนท์ ) ได้รับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการเมืองพนัสนิคมมาต่อเนื่องมา จนถึงสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการสร้างท่าจอดเรือและ " อาศรัยสถาน " ที่อ่างศิลา
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชลบุรีได้รับความสนใจจาก
ผู้ครองประเทศตลอด จนชาวต่างประเทศ
เป็นอย่างมาก ซึงอาจเป็นเพราะนโยบายเปิดประเทศเป็นของไทย จึงทำให้มีโอกาศติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น
เนื่องจากชลบุรีมีที่พักเหมาะแก่การจอดเรือ
ไปมาค้าขาย และเป็นเมืองชายทะเลที่มีอากาศดีอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้โดยสะดวก ชลบุรีจึงกลายเป็นที่พักตากอากาศและพักฟื้นผู้ป่วยทั้ง
ของชาวไทยและชาวต่างประเทศและชนชั้นสูงของไทย โดยเฉพาะอ่างศิลาได้กลายเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญ
ในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าฯ กล่าวคือนอกจาก
จะเป็นที่พักตากอากาศที่โปรดปราณของพระองค์ และยังเป็นสถานที่ตากอากาสและพักฟื้นที่ได้รับความนิยม
จากชนชั้นสูงของไทยตลอดจนชาวต่างประเทศ
ซึ่งได้แก่ มิชชันนารีอเมริกันแล้วยังมี สะพานหิน ซึ่งได้รับการสร้างในสมัยพระองค์เพื่อช่วยให้เรือจอดเทียบท่า
ได้สะดวกขึ้นด้วย นอกจากนั้นยังมีผู้สร้างตึก
ขึ้นสองหลังขึ้นที่อ่างศิลาเพื่อเป็นที่พักของผู้ป่วยหลังหนึ่ง ( เป็นตึกหลังใหญ่ผู้สร้างคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรม
มหาศรีสุริยวงศ์ขณะเป็นเจ้าพระยาสุริยวงศ์
ที่สมุหกลาโหม ) และตึกอีกหลังหนึ่งสำหรับให้ชาวต่างประเทศได้พักอาศัย ( เป็นตึกหลังเล็ก ผู้สร้างคือเจ้าพระยาทิพากร
(เจ้าคุณกรมท่า) ) ตึกทั้งสองหลัง
นี้ในสมัยก่อนเรียกกันว่า "อาศรัยสถาน" ซึ่งต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี
(สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินาถ) ในสมเด็จพระจุล
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ให้บูรณะตึกทั้งสองหลังนี้เพื่อถวาายเป็นพระราชกุศลเฉลิมแด่พระ
บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระราชทานนาม
ตึกหลังใหญ่ว่า " ตึกมหาราช " และตึกหลังเล็กว่า " ตึกราชินี " และให้เป็น " อาศรัยสถาน " เรื่อยมา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการสร้างค่ายหลวงที่อ่างศิลา
ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับจากไปรับพระเศวตสุวรรณที่สระบุรีรวมทั้งนมัสการ
พระพุทธบาทและพระพุทธฉายในปีพ.ศ.2415
นั้นขณะเสด็จกลับพระนครทาง จ.นครนายก ปราจีนบุรี และเสด็จประทับเรือที่อ่างศิลา เสนาบดีกรมท่า
(เจ้าพระยามหาโกาษาธิบดี ) ได้สร้างพลับพลารับที่
อ่างศิลาลักษณะพลับพลาเป็นค่ายหลวงใหญ่มีท้องพระโรง และพระที่นั่งมีเรือนข้างหน้าข้างในใหญ่โต
พร้อมทุกพนักงานเป็นพลับพลาที่สร้างขึ้นอย่างค่อน
ข้างถาวร เพื่อจะได้เป็นที่ประทับในโอกาศต่อๆไปด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง
พอพระราชหฤทัยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะ เรื่องของการ
ออกแบบ พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ชมเชยไว้ในเอกสารระยะทางเสด็จประพาสจันทบุรี ในปี
ร.ศ.95 ( พ.ศ.2419 ) ด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอม
เกล้าฯได้เสด็จมาประทับที่อ่างศิลา 2 ครั้งในปี พ.ศ.2419 และ2430และเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูร้อน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาเกาะสีชังให้เป็นท่าเรือน้ำลึก
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ การค้าระหว่างไทยกับต่างประเทศเจริญมากขึ้น มีเรือบรรทุกสินค้า
ไปมาค้าขายกับกรุงเทพฯจำนวนมากและเนื่อง
ในยามที่มีคลื่นลมจัดเรือไม่สามารถจอดลำเรียงสินค้าที่นอกสันดอนปากแม่น้ำได้สะดวกจึงนิยมมาทอดสมอ
ถ่ายสินค้าที่เกาะสีชังเพราะมีที่กำบังคลื่นลมเกาะสี
ชัง จึงเป็นท่าเรือที่เรือต่างประเทศไปมามากขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯจึงพระทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตรวจทำแผนที่หยั่งน้ำ และตรวจหินใน
น้ำตามเส้นทางที่เรือเดินไปมาโดยละเอียด และสั่งให้นำทุ่นเหล็กมาทอดไว้ในที่ที่พบว่ามีหินใต้น้ำที่จะ
เป็นอันตรายแก่เรือ การวางทุ้นนี้ได้วางไปจนถึงเกาะ
ล้านในปี พ.ศ.2431 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ( พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว )
ทรงพระประชวรแพทย์ประจำพระองค์แนะนำ
ให้ประทับ ในบริเวณที่มีอากาศชายทะเล จึงโปรดเกล้าให้พระยาภาสกรวงษ์เชิญเสด็จพระราชดำเนินมาประทับ
ที่เกาะสีชัง โดยประทับที่เรือนหลวงที่ปลูก
ไว้ให้ชาวต่างประเทศได้เช่าตากอากาศ ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราช
เทวีทรงพระประชวรจึงเสด็จแปรพระราช
ฐานมาประทับรักษาพระองค์ที่เกาะสีชัง และเนื่องจากการเสด็จพระราชดำเนินมากระทันหัน ไม่อาจเตรียมปลูกที่ประ
ทับได้ทัน จึงต้องประทับในเรือพระที่
นั่งที่จอดทอดสมออยู่ริมฝั่งทะเลใกล้เกาะสีชัง ในระยะนั้นมีคลื่นลมจัดเรือพระที่นั่งถูกคลื่นรบกวน ทำให้สมเด็จพระ
นางเจ้าเสาวภาผ่องศรีทรงพระประชวร
มากขึ้นจึงต้องเสด็จมาพักแรมบนเกาสีชัง โดยตั้งกระโจมพักอยู่ใต้ต้นมะขามใกล้เรือนที่ประทับของสมเด็จพระเจ้า
ลุกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ในครั้งนั้น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับที่เกาะสีชังด้วยเป็นเวลา 16 วัน จึงทรงพระ
ราชดำริให้สร้างพระอารามขึ้นใหม่ ซึ่ง
ปัจจุบันคือที่ตั้งพระเจดีย์อุโบสถวัดอัษฎางคนิมิตร ในปี พ.ศ.2432 ในวโรกาศเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงบริจาคพระ
ราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างตึกที่เกาะสีชังจำนวน 3 หลัง เพื่อใช้เป็นที่พักของผู้ป่วย และได้พระราชทานนามตึกทั้ง 3
หลังดังนี้ตึกที่อยู่ริมหาด " ตึกวัฒนา
ตึกหลังกลม " ตึกผ่องศรี " และตึกหลังยาว " ตึกอภิรมณ์ " ในปี พ.ศ.2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได
้เสด็จมาแปรพระราชฐานที่เกาะสีชังหลาย
ครั้ง ครั้งละนานๆเนื่องจากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ ( กรมหลวงนครนครราชสีมา )
ซึ่งยังทรงพระเยาว์ทรงพระประชวรไม่สามารถ
รักษาให้หายขาดได้ในระยะเวลาสั้นๆ จำเป็นต้องประทับที่เกาะสีชังเป็นเวลาแรมปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอม

เกล้าฯจึงทรงพระโปรดเกล้าฯ ให้สร้างค่าย
หลวงที่ประทับ และขุดบ่อใหญ่สำหรับเก็บกักน้ำไว้ใช้สอยพระราชทานนามว่า " บ่ออัษฎางค์" ในเวลาต่อมา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯต้องเสด็จพระ
ราชดำเนินมาประทับที่เกาะสีชังอีก เนื่องจากพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ ทรงพระประชวรพระ
อาการมากในการเสด็จคราวนี้พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินสำรวจพื้นที่เกาะสีชังอย่างละเอียด ทรงพระราชดำริที่จะทำนุบำรุงเกาะนี้ให้เจริญขึ้น
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างถาวรวัตถุที่จะอำนวยความสะดวก ให้แก่ ราษฎรชาวเกาะสีชัง และผู้ที่มาพักผ่อน และพักรักษาตัวที่เกาะ
สีชังตลอดจนพ่อค้า ดังนี้
1. โปรดเกล้าฯให้สร้างสะพานยาวตั้งแต่ชายหาดลงไปถึงที่น้ำลึก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เรือที่จะเข้ามาจอด
ในเวลาที่น้ำลงสะพานดังกล่าวกว้าง 2 วา
ยาว 3 เส้น 1 วา 2 ศอก พระราชทานนามว่า "สะพานอัษฎางค์"
2. โปรดเกล้าฯให้ย้ายศาลเจ้าที่เป็นที่นับถือของชาวเกาะสีชังขึ้นไปสร้างใหม่บนไหล่เขา เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระราช
ทานนามว่า "ศาลศรีชโลธรเทพ"
3. โปรดเกล้าฯ ให้สร้างประภาคาร ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีศิลาอยู่ใต้น้ำอยู่ตรงปากช่องทางเรือ ทั้งนี้เพื่อ
ให้เป็นที่สังเกตแก่เรือที่จะเดินเข้าออก
เมื่อสร้างเสร็จพระราชทานนามว่า "อัษฎางค์ประภาคาร"
4. โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาธงขึ้นบนยอดเขาสูงที่มีนามพระราชทานว่า " ยอดพระจุลจอมเกล้า " และจัดเจ้าพนักงาน
ไว้คอยชักสัญญาณให้เรือเข้าออกที่ท่า
เรือของเกาะสีชัง เสาธงดังกล่าวได้พระราชทานนามว่า "เสาธงอัษฎางค์"
5. โปรดเกล้าฯให้ตัดถนนเพื่ออำนวยความสะดวกในการสัญจรบนเกาะนี้จำนวนหลายสาย เช่น ถนนอัษฎางค์ ถนนวัฒนา
ถนนวชิราวุธ ถนนจักรพงษ์ และถนน
สายวลี เป็นต้น
6. โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสวนป่า (วะนะ) ขึ้นที่ไร่บนเพื่อเป็นที่พักผ่อนประกอบด้วย สวนจุลวันและมหาวันมียอดเขาเนินผา
และถ้ำ น้ำตกธารน้ำตกแต่งสถานที่
ต่างๆ ไม้นานาพันธุ์ประดับด้วยน้ำพุและตุ๊กตาหินอ่อน และพระราชทานนามว่า " อัษฎางคะวัน "
ในปี พ.ศ.2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พระราชดำเนินมาประทับที่เกาะสีชังอีก ในครั้งนี้พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ
ให้ก่อสร้างถาวรวัตถุเพิ่มเติม
อีกหลายอย่าง ดังนี้
1. ขยายรั้วค่ายหลวงไปจนถึงคลองเทียนบน และสร้างสวนขึ้นในพระราชฐานตกแต่งเนินเขาวังให้ เป็นขั้น ปลูกต้นไม้ต่างๆ
2. สร้างพระตำนักใหญ่น้อยอีกหลายหลัง
3. ขุดบ่อจำนวนหลายบ่อ สำหรับเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้อาบกินและใช้รดต้นไม้
4. ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (สมเด็จพระบรมวงค์เธอ กรมพระยา
ดำรงค์ราชานุภาพ)
ทรงอัญเชิญมาจากพุทธคยาในประเทศอินเดียไว้บน "ไหล่เขาคยาสิระ" แห่ง "ยอดพระจุลจอมเกล้า" เพื่อเป็นที่สักการะบูชา
ของพสกนิกรโดยทั่วไป
5. ย้ายวัดอัษฏางคนิมิตรไปสร้างที่เนินเขา "ยอดพระจุลจอมเกล้า" ด้านทะเล เพราะใกล้หมู่บ้าน สะดวกแก่พระภิกษุที่จะ
ออกบิณฑบาต
6. สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ทรงศรัทธาบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างโรงเรียนขึ้น บนที่ข้างถนนอัษฎางค์ เพื่อเป็น
สถานที่เรียนหนังสือ
สำหรับเด็กชาวเกาะสีชัง โรงเรียนนี้ได้พระราชทานนามว่า "โรงเรียนเสาวภา"
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ดำริว่าเกาะสีชังเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ชายทะเลที่มีอากาศดี ควรตั้งพระราชฐาน
ให้มั่นคงเพื่อเป็นที่ประทับในฤดูร้อน
และเนื่องจากเห็นว่าเกาะสีชังจะเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศในโอกาสต่อไปเพราะมีท่าเรือใหญ่มีเรือสินค้าต่าง
ประเทศมาแวะจอดรับส่งสินค้าเป็น
จำนวนมาก การสร้างพระราชฐานที่เกาะนี้ จะเป็นพระราชฐานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งประกอบกับในคราวนั้น ในวันที่ 5
กรกฎาคม พ.ศ.2435 สมเด็จพระ
นางเจ้าเสาสภาผ่องศรีฯ ซึ่งเสด็จตามมาที่เกาะสีชังด้วย ทรงครรภ์ใกล้จะมีพระประสูติกาล พระบาทสมเด็จพระจุล
จอมเกล้าฯ จึงดำริให้พระราชฐานแห่ง
นี้เป็นที่สำหรับการประสูติพระเจ้าลูกยาเธอด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวีทรงประสูติพระราชกุมาร
ซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า " สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิรกฯ " ณ. ตำหนักมรกตสุทธิ์ในพระราชฐานที่
กำลังสร้างขึ้น ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2435 ซึ่งเป็นวันสม
โภชเดือนสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลกฯ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้มีพระบรมราชองค์การประกาศ
สร้างพระที่นั่งและพระราชฐานที่เกาะ
สีชัง โดยพระราชทานนามว่า " พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ " พระราชฐานส่วนใหญ่ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างส่วนใหญ่เป็น
พระที่นั่ง พระตำหนักและตำหนัก
ที่ทำด้วยไม้ โดยพระที่นั่ง 4 พระองค์ มีนามพระราชทานดังนี้ พระที่นั่งโกสีย์วสุภัณฑ์ พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์
พระทีนั่งเมขลามณี ส่วนพระตำหนัก 1 พระองค์และตำหนัก 13 พระองค์ พระราชทานนามตามชื่ออัญมณีดังนี้
พระตำหนักวาสุกีก่องเก็จ ตำหนักเพชรระยับ ตำหนักทับทิมสด ตำหนักมรกตสุทธิ์
ตำหนักบุศราคำ ตำหนักกล่ำโกมิน ตำหนักนิลแสงสุก ตำหนักมุกดาพราย ตำหนักเพทายใส ตำหนักไพฑูรกลอก
ตำหนักดอกตะแบกละออ ตำหนักโอปอล์จรูญ ตำหนักมูลการเวก และตำหนักเอกฟองมุกด์ นอกจากนี้ยังโปรดเกล้า
ให้สร้างประตูพระราชฐานขึ้นอีกแปดแห่ง
ในระหว่างก่อสร้างพระที่นั่งและตำหนักต่างๆนั้น ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขึ้นภาย
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2436 ฝรั่งเศส
ได้ใช้เรือปืนปิดล้อมไทย และเกิดปะทะกันขึ้นที่ปากอ่าวไทยทำให้เกาะสีชังเป็นสถานที่ไม่ปลอดภัย ประกอบกับ
หลังเกิดวิกฤตการณ์ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าฯ พระบรมวงศานุวงค์และขุนนางที่ร่วมบริหารประเทศต่างมีพระราชภารกิจ และภารกิจที่ต้อง
เร่งรัดทำจำนวนมาก ทำให้การก่อสร้าง
ตำหนักและ พระที่นั่งเกาะสีชังต้องระงับไปอย่างไรก็ตามเมื่อมีการก่อสร้างพระราชวังดุสิตขึ้นที่กรุงเทพฯ
ในป ี พ.ศ.2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอม
เกล้าฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รื้อถอนไม้จากพระที่นั่งมันตธาตุรัตนโรจน์ ที่สร้างค้างอยู่ที่เกาะสีชังไป
สร้างพระที่นั่งในพระราชวังดุสิต พระราชทาน
นามว่า "พระที่นั่งวิมารเมฆ"
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการสร้างฐานทัพเรือที่สัตหีบ
ในปี พ.ศ.2457 เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตการซ้อมรบที่สัตหีบ
ได้ทรงพิจารณาลักษณะภูมิประเทศของ
สัตหีบแล้วทรงเห็นว่าเหมาะแก่การจัดตั้งเป็นฐานทัพเรือ เพราะสามารถจอดพักเรือได้เป็นจำนวนมากแต่เนื่อง
จากโอกาศยังไม่เหมาะที่จะสร้างฐานทัพเรือ
ขึ้น เพราะไทยยังไม่มีกำลังมากพอ ที่จะรักษาไว้จึงโปรดเกล้าให้สงวนที่ดินที่ติดฝั่งของตำบลสัตหีบและบริเวณ
ใกล้เคียงไว้ต่อมากองทัพเรือ มีเรือพิฆาตและ
เรือตอร์ปิโดเพิ่มขึ้น กระทรวงทหารเรือจึงคิดจะสร้างฐานทัพเรือขึ้นเพื่อสนับสนุนและคุ้มครองกองทัพเรือ
พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงค์เธอกรมหลวงชุมพร
เขตอุดมศักดิ์ ซึ่งทรงสนพระทัยภูมิประเทศของสัตหีบว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การก่อสร้างฐานทัพเรือ
จึงกราบบังคมทูลขอพระราชทานที่ดินที่สัตหีบที่
พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสงวนไว้ ให้แก่กองทัพเรือต่อไปซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก็ได้พระราชทานให้ในวันที่ 16 กันยายน
พ.ศ.2465 เนื่องจากตรงพระประสงค์อยู่แล้ว กองทัพเรือได้เริ่มดำเนินการ โดยมีโครงการสร้างสัตหีบเป็นฐาน
ทัพเรือชั้นนอก เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการ
รักษาอ่าวไทยตั้งแต่เกาะช้าง จังหวัดตราด และเกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่เนื่องจากโครงการดังกล่าว
ต้องใช้เงินจำนวนมาก จึงทำให้การสร้าง
ฐานทัพเรือที่สัตหีบล้าช้าไปเป็นเวลาหลายปี จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ชลบุรีได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมา
โดยลำดับจนกลายเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงในด้าน
การเป็นแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนเป็นแหล่งพัฒนาเศรษฐกิจ และ อุตสาหกรรทสำคัญจังหวัดหนึ่งทางภาคตะวัน
ออกไทย

ในนามของตัวแทนผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบูรพาวิทยา
 
ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวทัศนสุวรรณอย่างสุดซึ้ง
ที่พบกับความสูญเสียบุตรสาวอันเป็นที่รัก
 
ด.ญ.ศิลามณี ทัศนสุวรรณ อายุ 12 ขวบ นักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนวัดคีรีรัตนาราม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี  ด้วยอุบัติเหตุรถจักรยานยต์โดนชนและศีรษะน๊อคพื้น
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา
ขอให้ดวงวิญญาณของน้องศิลามณีไปสู่สวงสวรรค์ และมีความสุขในสวรรค์ภพนานเท่านาน
 
และขอให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับน้องฯ
ได้เป็นอุทธาหรณ์ให้ทุกฝ่าย เจ้าหน้าที่บ้านเมือง คุณครูอาจารย์ หน่วยงานท้องถิ่น ผุ้ปกครองมาร่วมใส่ใจรณรงค์กวดขันวินัยการจราจร โดยการสวมใส่หมวกกันน๊อคทุกครั้งนัไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก เด็กนักเรียน เยาวชน ตลอดจนผู้ปกครอง และพึงตระหนักถึงอันตรายเพียงชั่วอึดใจ ที่สามารถสร้างความสูญเสีย
ความเสียใจไปนานแสนนานเช่นกรณีนี้
ควรสวมใส่หมวกกันน๊อค ป้องกันตัวเองทุกครั้งที่ขึ้นขี่จักรยานยนต์ แม้จะเป็นการเดินทางใกล้ไกล ไม่ว่าจะเดินทางไปบนทางเล็กถนนใหญ่ ในตรอกซอกซอย
และขอให้ทุกท่านช่วยกันส่งแรงใจให้ครอบครัวพ่อแม่ของน้องศิลามณี ให้มีกำลังใจที่ดีเยี่ยมแข็งแกร่งโดยพลัน

หมวกกันน๊อค บังคับแต่มอเตอร์ไซค์ ไม่รวมถึงจักรยาน
พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒...
____มาตรา ๑๒๒ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนตร์ และคนโดยสารรถจักรยานยนตร์ต้องสวม หมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่ และโดยสารรถจักรยานยนตร์ ทั้งนี้ เฉพาะท้องที่ที่ได้กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา
____ความในวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
____ลักษณะและวิธีการใช้หมวกเพื่อป้องกันอันตรายตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตาม ที่กำหนดในกฎกระทรวง
____บทบัญญัติตามมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับแก่ภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช หรือ ผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่นใดที่ใช้ผ้าโพกศีรษะตามประเพณีนิยมนั้น หรือบุคคลใดที่กำหนดในกฎกระทรวง
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความใน พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
____โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารรถจักรยานยนต์สวมหมวกในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ และโดยที่มาตรา ๑๒๒ วรรคสาม แห่ง พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้บัญญัติให้ลักษณะและวิธีการใช้หมวกเพื่อป้องกันอันตรายเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความใน พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีข้อที่เกี่ยวกับรถจักรยาน ดังนี้
____ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้
________“หมวกนิรภัย” หมายความว่า หมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนตร์
________“หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปทรงกลมปิดด้านข้าง ด้านหลัง ขากรรไกรและคาง ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี
________“หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ” หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปทรงกลมปิดด้านข้างและด้านหลังเสมอแนวขากรรไกรและต้นคอด้านหลัง ด้านหน้าเปิดเหนือคิ้วลงมาตลอดถึงปลายคาง ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี
________“หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ” หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปครึ่งทรงกลมปิดด้านข้างและด้านหลังเสมอระดับหู ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี
____ข้อ ๒ หมวกนิรภัยให้ใช้ได้ ๓ แบบ คือ หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ และหมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ
ฯ ล ฯ
____ข้อ ๓ ในขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนตร์ ผู้ขับขี่และคนโดยสารต้องสวมหมวกนิรภัย โดยจะต้องรัดคางด้วยสายรัดคาง หรือเข็มขัดรัดคางให้แน่นพอที่จะป้องกันมิให้หมวกนิรภัยหลุดจากศรีษะได้หากเกิดอุบัติเหตุ

ข้อมูลจาก "โครงการการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการใช้จักรยาน" ของ TCC & สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

Date
ประเด็นนำเสนอ UPDATE

10/02/2550

BWCS Slide Show

ึคลิ๊กด้านบน ดูสไลด์บูรพาวิทยา

03/02/2550

"พวกเราคือผู้ปกครองนักเรียน"
 
ผู้ปกครองยอมย้ายลูกหลานเข้ามา
เพื่อศึกษาตามเจตนารมย์ของโรงเรียน
ที่โน้มน้าวใจให้เห็นความพากเพียร
เพื่อนักเรียนได้มีโอกาสเท่าเทียมนั้น
 
เป็นเหมือนฝันทุกฝ่ายมาร่วมสร้าง
อย่าให้ร้างค้างคาหยุดหนีหาย
มีอะไรควรบอกให้รู้จริงเร็วไว
ช่วยทำให้ฝันลุล่วงไปด้วยกัน
 
จากแรกวันเห็นแบบแปลนแผนผัง
เกิดพลังความเชื่อมั่นอย่างล้นหลาม
ผู้ปกครองทุกคนต่างเฝ้าติดตาม
พยายามให้ลูกหลานได้สมใจ
 
มันไม่ใช่ง่าย นักเรียนนับพัน
ยอมหันหลังลาจากโรงเรียนเก่า
เพราะเห็นความมุ่งมั่นยื่นให้เรา
จึงต่างเฝ้าคอยภาพนั้นให้ชัดจริง
 
การทำสิ่งใดล้วนแต่มีปัญหา
แต่สร้างปัญญาให้เด็กนั้นยิ่งใหญ่
ขอเป็นกำลังใจให้เดินหน้าต่อไป
ก้าวไปให้ถึงจุดมุ่งหมายอย่างแม่นยำ
 
 
สุดท้ายในนามผู้ปกครองนักเรียน
ขอให้สังคมได้จงรู้ไว้ว่า
มูลนิธิส่งเสริมศีลธรรมชลบุรีนั่นยิ่งใหญ่
กรรมการทุกท่านต่างร่วมแรงใจพร้อมจะผลักดัน
ให้โรงเรียนบูรพาวิทยา ชลบุรี
ขึ้นมายืนเด่นเป็นสง่าในแถวหน้าวงการศึกษา 
สมศักดิ์ศรีชาวจังหวัดชลบุรี ต่อเนื่องเสมอมา

HOT เชิญเข้าชม
ภาพงานวันเด็ก 2550 รร.บูรพาวิทยา

24/01/2550

คอลัมภ์: รีแลกซ์พักสมอง
 
จากหนัง "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช"
 
จากหนังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกัน
แบ่งตามขนาดความละเอียด 3 แบบ
1.   800 x 600 ขนาดเล็ก
2. 1024 x 768 ขนาดกลาง
3. 1280 x 800 ขนาดใหญ่

20/01/50
คอลัมภ์: ข่าวสาระภายนอกโรงเรียน

ของสองภาคแรก จากทั้งหมด สามภาค
  
ภาคหนึ่ง: 18 มกราคม 2550
ภาคสอง: 15 กุมภาพันธ์ 2550
เนื่องจากเนื้อหาหลัก ยาวจัด นับได้7-8ช.ม. ท่านมุ้ยจึงได้แบ่งเป็นภาคๆ ไป 3 ภาคด้วยกัน คือ

1. ภาคองค์ประกันหงษา - 18 ม.ค.2550
2. ภาคประกาศอิสรภาพ - 15 ก.พ.2550
3. ภาครักษาอิสรภาพยกทัพตีพม่า - 5 ธ.ค.2550
 

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ชนไก่กับมังสามเกลียด
( พระมหาอุปราชา )

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชา กับพระวิสุทธิ์กษัตริย์ตรี ราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ พระองค์ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๙ ที่เมืองพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พระองค์ทรงถูกนำไปเป็นตัวจำนำ ไว้กับพระจ้าหงสาวดีบุเรงนอง

วันหนึ่งพระองค์ทรงนำไก่มาชนกับไก่ชนของมังสามเกลียด ( พระมหาอุปราชา ) ได้ตรัสกับพระองค์ว่า “ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ” พระองค์จึงตรัสสวนออกไปว่า “ไก่ตัวนี้อย่าว่าแต่จะพนันเอาเดิมพันเลย ถึงจะชนเอาบ้านเอาเมืองกันก็ยังได้” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พม่าก็ระแวงสมเด็จพระนเรศวร ฯ และเห็นว่านานไปจะเป็นผู้นำไทยที่สำคัญ และเป็นเสี้ยนหนามแก่พม่าเป็นอย่างมาก

( คำบรรยายภาพ จากหนังสือ : จิตรกรรมฝาผนัง วัดสุวรรณดาราราม โดย สุเทพ ชูมาลัยวงศ์ องค์การค้าคุรุสภา พ.ศ. ๒๕๒๘ )

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง
พ.ศ. ๒๑๒๗

๏ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๖ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ยกทัพไปตีเมืองอังวะ และเกณฑ์ทัพไทยขึ้นไปด้วย สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดเกล้าให้สมเด็จพระนเรศวรคุมทัพขึ้นไปช่วย แต่ยกไปไม่ทันตามกำหนด เป็นเหตุให้พระเจ้านันทบุเรงเกิดความระแวง จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชา หาทางกำจัดสมเด็จพระนเรศวร

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จถึงเมืองแครง ทรงพักทัพอยู่ใกล้วัดของพระมหาเถรคันฉ่อง สมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จไปนมัสการพระมหาเถรคันฉ่อง พระมหาเถรคันฉ่องจึงได้ทูลเรื่องความลับ ที่พระมหาอุปราชาให้พระยาเกียรติ พระยาราม หาทางกำจัดพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้แม่ทัพนายกองมาประชุม และให้นิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องพร้อมคณะสงฆ์ มานั่งเป็นสักขีพยานที่พลับพลา แล้วพระองค์ก็ทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดินประกาศอิสรภาพ ไม่ยอมขึ้นกับหงสาวดีอีกต่อไป


สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พุทธศักราช 2098 พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชา และพระวิสุทธิกษัตรี ราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ดังนั้น พระองค์จึงมีพระชาติ ทั้งราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยทางพระราชบิดา และราชวงศ์อยุธยาทางพระราชมารดา พระองค์ทรงมีพระพี่นาง พระนามว่า พระสุวรรณเทวีหรือพระสุพรรณกัลยา และพระน้องยาเธอ พระนามว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ
  
เมื่อพระองค์มีพระชันษาได้ 9 ปี พระเจ้าหงสาวดีได้ขอไปเป็นพระราชบุตรบุญธรรม พระองค์ได้ประทับอยู่ที่หงสาวดีถึง 6 ปี เมื่อพระชันษาได้ 15 ปี จึงได้เสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา เพื่อช่วยราชการพระบิดา โดยได้เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก

ขณะทรงพระเยาว์และในระหว่างที่พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงหงสาวดี ก็ได้ทรงศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ และวิชาพิชัยสงคราม ทรงนิยมในวิชาการรบทัพจับศึก พระองค์ทรงมีโอกาสศึกษา ทั้งภายในราชสำนักไทย และราชสำนักพม่า มอญ และได้ทราบยุทธวิธีของชาติต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดี ทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมได้เป็นเลิศ ดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์ ยุทธวิธีที่ทรงใช้ เช่น การใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมาก และยุทธวิธีเดินเส้นใน พระองค์ทรงนำมาใช้ก่อนจอมทัพที่เลื่องชื่อในยุโรป นอกจากนั้น หลักการสงครามที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เช่น การดำรงความมุ่งหมาย หลักการรุก การออมกำลัง และการรวมกำลัง การดำเนินกลยุทธ เอกภาพในการบังคับบัญชา การระวังป้องกัน การจู่โจม หลักความง่าย ฯลฯ พระองค์ก็ทรงนำมาใช้อย่างเชี่ยวชาญ และประสบผลสำเร็จอย่างงดงามมาโดยตลอด

ราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรปาซิฟิคทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทยใหญ่บางรัฐ พระองค์ได้ทำสงครามเข้าไปในประเทศที่เป็นข้าศึกของไทย ในทุกทิศทาง จนประเทศไทยอยู่เป็นปกติสุขปราศจากศึกสงคราม เป็นระยะเวลายาวนาน
  
พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งสิ้นทั้งปวงของพระองค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองและคนไทยทั้งมวล ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ จะอยู่ในสนามรบและชนบทโดยตลอด มิได้ว่างเว้น แม้แต่เมื่อเสด็จสวรรคต ก็เสด็จสวรรคตในระหว่างเดินทัพไปปราบศัตรูของชาติไทย นับว่าพระองค์ได้ทรงสละพระองค์ เพื่อชาติบ้านเมืองโดยสิ้นเชิง สมควรที่ชาวไทยรุ่นหลังต่อมา ได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และจดจำวีรกรรมของพระองค์ เทอดทูลไว้เหนือเกล้า ฯ ไปตราบชั่วกาลนาน

19/01/50
คอลัมภ์: ข่าวกิจกรรมของโรงเรียน

เข้าเสนอแนะสาระดีดี หรือ ข้อคิดเห็น ได้ที่เว็บบอร์ดของ รร.บูรพาวิทยา ที่นี่ หรือ ด้านล่าง

Burapha Webboard

18/01/50
คอลัมภ์: รู้ไว้ได้ประโยชน์
แก๊งค์ลักเด็กอาละวาด กระทุ่มแบนหาย18ราย

อายุต่ำสุดเพียง 6 เดือน ไม่เลือกเพศชายหรือหญิง โรงเรียนในพื้นที่ร่อนหนังสือถึงผู้ปกครองดูแลลูกอย่างใกล้ชิด พม.ส่งหนังสือถึงผู้ว่าฯ-พมจ.ทั่วประเทศประกาศเตือนประชาชนป้องกันเด็กถูกลักพามากขึ้น

นายเอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา กล่าวว่า มูลนิธิฯได้รับแจ้งขณะนี้แก๊งค์รถตู้ลักเด็กออกอาละวาด โดยสถานการณ์ล่าสุดในพื้นที่อำเภอกระทุ่มแบน มีการแจ้งความนักเรียนหาย ถึง 18 ราย อายุต่ำสุดเพียง 6 เดือน และยังไม่สามารถติดตามกลับมาได้ จนชาวบ้านต่างทราบข่าวเรื่องการลักพาตัวเด็กในพื้นที่เป็นอย่างดี กระทั่ง โรงเรียนวัดอ้อมน้อย(มิตรครูราษฎร์รังสรรค์) ได้ส่งหนังสือเวียน ประกาศเตือนให้ผู้ปกครองคอยดูแลบุตรหลานที่อยู่ในความดูแลของตนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากแก็งค์ลักพาตัวเด็กจะลงมือในช่วงเวลาที่เด็กไม่ได้อยู่กับผู้ปกครอง เช่น ออกไปเล่นนอกบ้าน และนักเรียนตามโรงเรียน เป็นต้น

หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหายฯ กล่าวอีกว่า ล่าสุดได้รับแจ้งเหตุ ด.ช.พงษ์เพชร จีนสุกแสง หรือน้องลาภ อายุ 9 ขวบ และด.ช.ชัยภาษ ด่านเกื้อกูล หรือน้องเคน อายุ 11 ขวบ หายออกจากบ้านพักเลขที่ 139/40 หมู่ 13 ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร หลังจากขออนุญาตผู้ปกครองออกไปเล่นกับเพื่อนตามปกติ หลังจากนั้นก็ไม่มีใครพบเห็นเด็กทั้งสองอีกเลย จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 1 เดือน ที่ยังไม่ทราบข่าวคราวชะตากรรมของเด็กทั้งสองราย มีเบาะแสเพียงชาวบ้านที่อยู่ในซอยเพชรเกษม 91 ซึ่งพบเด็กทั้งสองคนเป็นครั้งสุดท้าย ทราบว่าเด็กทั้งสองมาเล่นน้ำในซอยดังกล่าว ต่อมามีคนเห็นรถตู้สีเทา ไม่ทราบทะเบียน ติดฟิล์มกรองแสงหนาทึบ แล่นเข้าไปในซอย หลังจากนั้นไม่นานก็ขับออกมา และไม่มีใครพบเห็นเด็กทั้งสองคนอีกเลย

นายเอกลักษณ์ กล่าวต่ออีกว่า การดำเนินการล่าสุดศูนย์ข้อมูลคนหายฯ ได้ประสานงานกรณีดังกล่าว ไปยัง ผู้บังคับการกองปราบปรามการกระทำความผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร และ ผู้กำกับการศูนย์สวัสดิภาพเด็ก เยาวชน และสตรี กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในการสืบสวนเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นภัยร้ายที่คุกคามสวัสดิภาพและความปลอดภัยของเด็ก ทั้งนี้ ผู้ใดพบเห็นหรือรู้เบาะแสแก๊งค์รถตู้ลักพาตัวเด็ก โทรแจ้งได้ที่ศูนย์ข้อมูลคนหายฯ โทร. 0-2642-7991-2 หรือ E-mail : info@backtohome.org

“แก๊งค์มิจฉาชีพนี้จะเล็งเด็กที่อยู่โดยลำพังแล้วเข้าไปตีสนิท ด้วยการหลอกว่าจะพาไปซื้อขนมหรือของแล่น ทำให้เด็กหลงเชื่อและตามไป จากนั้นก็จะจับเด็กขึ้นรถตู้ที่ติดฟิล์มทึบ โดยจะตระเวนลักเด็กทั้งชายและหญิงให้ได้จำนวนหนึ่ง ก่อนจะพาไปคุมขังที่บ้านหลังหนึ่ง จึงจะทำการจัดส่งเด็กไปตามที่ที่ลูกค้าต้องการต่อไป“นายเอกลักษณ์กล่าว

นายเอกลักษณ์ กล่าวด้วยว่า การลักพาตัวเด็กมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1. เพื่อการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ซึ่งอาจจะถูกขายเป็นเป็นลูกบุญธรรมของชาวต่างชาติ หรือถูกนำเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์ในรูปแบบขอทาน ส่วนเด็กโต อายุ 5-12 ขวบ จะถูกบังคับใช้แรงงานในรูปแบบการขายดอกไม้หรือขายสินค้าต่างๆ ตามที่สาธารณะ หรือ ถูกนำไปบังคับใช้เป็นแรงงานทาสตามโรงงานนรก

2.เพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุระหว่าง 5-12 ปี ซึ่งจะเป็นการกระทำของพวกที่มีความผิดปกติทางจิต ชอบร่วมเพศกับเด็ก ทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย โดยคนร้ายอาจกระทำกับเด็กเอง หรือนำตัวเด็กส่งต่อให้ผู้อื่นอีกต่อหนึ่ง และ3.เพื่อความเสน่หาส่วนตัว กรณีนี้เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิต ที่คนร้ายอาจจะรักใคร่เด็กเป็นพิเศษ และประสงค์ที่จะนำตัวเด็กมาเลี้ยงดูเอง ส่วนใหญ่เป็นคนใกล้ชิด หรือญาติสนิท

นางสุนิสา จีนสุกแสง มารดาของน้องลาภที่ถูกลักพาตัวไป กล่าวว่า ตอนนี้สวดมนต์ทุกคืน ภาวนาของให้ลูกกลับมาอย่างปลอดภัย ปกติทุกวันอยู่กับลูกชายคนนี้เพียงสองคน ตอนนี้ไม่มีน้องลาภอยู่แล้ว ต้องนอนร้องไห้คิดถึงน้องลาภทุกคืน อยากให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องช่วยตามหาน้องลาภด้วย

ด้านนายวัลลภ พลอยทับทิม ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) กล่าวว่า จะทำหนังสือประสานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร และตำรวจในพื้นที่เพื่อขอให้เร่งรัดในการติดตามตัวเด็กที่ถุกดลักพาตัวไป และจะสั่งการให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) ทั้งจ.สมุทรสาคร และทุกจังหวัดทั่วประเทศ ช่วยประกาศเตือนไปยังผู้ปกครองให้ระมัดระวังดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อป้องกันเด็กถูกลักพาตัว

http://www.komchadluek.net/2007/01/18/a001_83321.php?news_id=83321

18/01/50
คอลัมภ์: ประเด็นใหม่มาแรง

17/01/50

วรรณคดี

e-book พระอภัยมณี
 
e-book ขุนช้างขุนแผน

chon06.jpg

ภาพถ่าย สี่แยกเฉลิมไทย ชลบุรี เลี้ยวซ้ายไปพนัส เลี้ยวขวาเข้าเมืองชลบุรี ตรงไปพัทยา
ถ่ายเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2490 หรือประมาณ 50 ที่แล้ว

ชลบุรี

" ทะเลงาม ข้ามหลามอร่อย อ้อยหวาน จักรสานดี ประเพณีวิ่งควาย " นี่คือคำขวัญของจังหวัดชลบุรีของเราส่วนประวัติต่างๆของชลบุรีไม่ว่าเป็น
ที่ตั้งและอณาเขต , เขตการปกครอง , อาชีพ , ความเป็นมา และประเพณีนั้นเราได้อ้างอิงมาจากหนังสือ " จากชลบุรีถึงสีชัง " ของกรมวิชาการ
กระทรวงการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2541 ต้องขอขอบคุณมาณ.ที่นี้ด้วยขอรับ .....
ตราประจำจังหวัด


ตราประจำจังหวัดชลบุรี จะเป็นรูป ภูเขาอยู่ริมทะเล ซึ่งภูเขานั้นหมายถึง เขาสามมุข ซึ่งเขาสามมุขนั้นเป็นที่นับถือกัน
ของชาวประมง เพราะถือว่าสามารถคุ้มครองให้ตนรอดพ้นจากอันตรายต่างๆได้ ซึ่งอาชีพประมงนั้นเป็นอาชีพหลัก
ของชาวเมืองมาแต่โบราณ ส่วนทะเลนั้นคือ หาดบางแสน ซึ่ง เป็นสถานที่ที่สร้างชื่อเสียงให้จังหวัดชลบุรีมาช้านาน

ดอก ไม้ประจำจังหวัด

ต้นประดู่ ชื่อสามัญ : Burma Padauk
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plerocapus indicus
วงศ์ : PAPILIONACEAE
ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ ๑๐-๒๕ เมตร ผิว
เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำคล้ำ และจะแตกสะเก็ดออกเป็นร่อง ๆ แตกกิ่งก้านสาขากว้างมี
เรือนยอดทึบ ใบรวมเป็นช่อ ซึ่งแตกออกจากปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีประมาณ ๖-๑๒ ใบ. ลักษณะของใบ
เป็นรูปมนรี ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นมันเรียบไม่มีจัก สีเขียว ..ออกดอกเป็นช่ออยู่ตาม
ปลายกิ่งหรือโคนก้านใบมีขนาดเล็กสีเหลืองผลมีขนาดประมาณ ๔-๖ เซนติเมตร มีขนเล็กๆ ปกคลุมทั่ว

ที่ตั้งและอณาเขต

จังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศหรือชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 12 - 13 องศาเหนือ และเส้นแวงที่
100 - 102 องศาตะวันออกอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันออกตามทางหลวงสายสุขุมวิทประมาณ 65 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 4,363 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,968,107 ไร่
มีอณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ
เขตอำเภอพานทอง อำเภอพนัสนิคม และกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ ติดต่อกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศใต้
เขตอำเภอสัตหีบและอำเภอบางละมุงติดต่อกับจังหวัดระยอง
ทิศตะวันออก
เขตอำเภอบ่อทองและอำเภอหนองใหญ่ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา จันทบุรี และระยอง
ทิศตะวันตก
เขตอำเภอเมืองชลบุรี ศรีราชา เกาะสีชัง และบางละมุง ติดต่อกับทะเลฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย

ภูมิประเทศ

จังหวัดชลบุรี มีภูเขาทอดยาวอยู่เกือบกึ่งกลางของจังหวัด เป็นแนวยาวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สภาพพื้นที่ส่วน
ใหญ่เป็นที่ราบสลับเนินเขา และที่ราบชายฝั่งทะเล ตอนเหนือเป็นที่ราบเหมาะแก่การกสิกรรม ทิศตะวันออกและทิศใต ้ เดิมเป็นป่าพื้นที่ลุ่มดอน
แต่ปัจจุบันเปลี่ยนสภาพจากป่าไม้ เป็นที่โล่งเตียนใช้เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าว สัปรด ยางพารา และมะม่วง
หิมพานต์ ซึ่งจะพบแหล่งเพาะปลูกเกือบทุกอำเภอ มีชายฝั่งทะลเละหาดสวยงาม เหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจหลายแห่ง เช่น ชายหาด
บางแสน พัทยา เป็นต้น ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทรายยกเว้นบางส่วนของอำเภอพนัสนิคม และส่วนใหญ่ของอำเภอพานทอง จะเป็นดิน
เหนียวดินตะกลอน แหล่งน้ำธรรมชาติมีน้อยจึงเกิดปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำ ประกอบกับการบุกรุกแผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติทำให้พื้นที่ที่มีความ
อุดมสมบรูณ์เกิดปัญหา ดินเสื่อมโทรมจากการทำไร่มันสำปะหลัง และไร่อ้อย

ภูมิอากาศ

ภูมิอากาศ โดยทั่วไปของจังหวัดชลบุรีอยู่ในสภาพไม่ร้อนจัดและไม่หนาวจัด กล่าวคือในฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัด ส่วนฤดูหนาวอากาศไม่แห้งแล้ง
มากนักมีฝนชุกสลับกับแห้งแล้ง บริเวณใกล้ภูเขามีฝนตกมากกว่าบริเวณใกล้ชายทะเล การที่สภาพอากาศโดยเฉลี่ยทั้งปีของจังหวัดชลบุรีอยู่ใน
ระดับปานกลาง เป็นเพราะที่ตั้งของจังหวัดชลบุรีอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ของอ่าวไทย และพื้นที่ส่วนใหญ่ทางทิศตะวันตกอยู่ติดกับทะเลมีความยาว
ถึง 160 กิโลเมตร

จังหวัดชลบุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ กับอีก 1 กิ่งอำเภอ ดังนี้
อำเภอเมือง | พนัสนิคม | พานทอง | บ้านบึง | หนองใหญ่ | ศรีราชา | บางละมุง | สัตหีบ | บ่อทอง | เกาะสีชัง | กิ่งอำเภอเกาะจันทร์
....................................................................................................................................................
1. อำเภอเมือง

เดิมชื่อว่า อำเภอบางปลาสร้อย ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นอำเภอเมืองชลบุรีในปี พ.ศ. 2481 มีพื้นที่ประมาณ 225 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศทั่วไป
เป็นที่ราบเนินเขา พื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกทั้งการทำนาและทำสวนสร้างชื่อเสียงให้จังหวัดชลบุรีมาช้านาน
2. อำเภอพนัสนิคม

เดิมคือเมืองพระรถ เป็นเมืองโบราณไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด แต่เคยเป็นเมืองที่รุ่งเรืองมาก่อนในปี พ.ศ. 2371 ในรัชสมัยพระบาท
สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นเมืองเรียกว่า เมืองพนัสนิคม และในปี พ.ศ. 2440 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มี
การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคใหม่ จึงโปรดเกล้าฯให้เมืองพนัสนิคมเป็นอำเภออยู่ในเขตความรับผิดชอบของจังหวัดชลบุรี มาจนถึงปัจจุบันอำเภอพนัส
นิคม อยู่ห่างจากจังหวัดชลบุรี 22 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมณ 572 ตารางกิโลเมตรลักษณะภูมิประเทศเป็นป่าและที่ราบเหมาะแก่การทำนาและทำไร่ พลเมือง
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่อ้อย ทำสวนเงาะ ทุเรียน เลี้ยงเป็ด ไก่ หมู โค กระบือ ทำการประมง และเหมืองแร่

3. อำเภอพานทอง

เดิมชื่อว่าอำเภอท่าตะกูด ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นอำเภอพานทองในปี พ.ศ. 2451 มีพื้นที่ประมาณ 180 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชไร่และพืชล้มลุก พลเมืองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา นอกจากนั้นมีการปศุสัตว์ และการอุตสาหกรรม

4. อำเภอบ้านบึง

มีเนื้อที่ประมาณ 646 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบมีส่วนน้อยที่เป็นภูเขาพื้นที่ทั่วไปเหมาะแก่การประกอบอาชีพกาเกษตร
พลเมืองส่วนใหญ่ของอำเภอบ้านบึงประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น โรงงานผลิตน้ำตาลทรายขาว โรงงาน
แป้งมันสำปะหลัง เป็นต้น

5. อำเภอหนองใหญ่

มีเนื้อที่ประมาณ 334 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นเนินสูงสลับกับที่ราบ มีภูเขากั้นอยู่ 3 ด้าน เป็นเขตแดน พลเมืองส่วนใหญ่มอาชีพทำไร่ ทำสวนยางพารา

6. อำเภอศรีราชา

ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของอ่าวไทย มีพื้นที่ประมาณ 643 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเนิน มีภูเขาเล็กๆกระจายอยู่ทั่ว
ไป เหมาะแก่การเกษตร มีที่ราบลุ่ม ทำนาได้เป็นบางส่วน มีฝนตกชุก อากาศอบอุ่นตลอดปี

7. อำเภอบางละมุง

มีพื้นที่ประมาณ 727 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบต่ำ มีภูเขาเล็กๆกระจายอยู่หลายแห่ง เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ ทิศใต้
เป็นทะเล มีเกาะต่างกระจายอยู่ทั่วไป คือ เกาะล้าน เกาะไผ่ และเกาะสาก

8. อำเภอสัตหีบ

มีพื้นที่ประมาณ 348 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขาติดทะเลริมอ่าวไทย เหมาะแก่การทำไร่

9. อำเภอบ่อทอง

มีพื้นที่ประมาณ 894 ตารากิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศทางด้านตะวันออกของแภอบ่อทองเป็นที่ราบสูง ปกคลุมด้วยภูเขา เนินดิน และป่าไม้ เป็นแห่ง
กำเนิดของต้นน้ำลำธาร พื้นที่ตอนเหนือและตอนใต้มีลักษณะคล้ายคลึงกับทิศตะวันออก ส่วนตอนกลางวันเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การเพาะปลูก

10. อำเภอเกาะสีชัง

เป็นเกาะใหญ่อยู่ตรงข้ามกับอำเภอศรีราชา เดิมอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองสมุทรปราการ ต่อมาได้โอนมาอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอ
ศรีราชา จังหวัดชลบุรี และเป็นอำเภอเกาะสีชังเมื่อปี พ.ศ. 2537 มีพื้นที่ประมาณ 18 ตารางกิโลเมตร มีเกาะใหญ่น้อยเป็นบริวารอีก 8 เกาะ ลักษณะภูมิ
ประเทศส่วนใหญ่เป็นหินโขด มีที่ราบเป็นส่วนน้อย

11. กิ่งอำเภอเกาะจันทร์

มีพื้นที่ประมาณ 179 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับเนินเขา เดิมอยู่ในเขตการปรกครองของอำเภอพนัสนิคมแยกเป็นกิ่งอำเภอ
เมื่อปี พ.ศ. 2540 พลเมืองส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ทำสวน

ทรัพยากรธรรมชาติจังหวัดชลบุรี > ดิน ลักษณะดินในจังหวัดชลบุรีแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ ดินนา ดินไร่ ( ดินปนทราย ) ดินตื้น และดินทราย นอกจากนั้นจะเป็นพื้นที่ภูเขา ซึ่งมีประมาณ ร้อยละ 15 ของพื้นที่จังหวัด > ป่าไม้ จังหวัดชลบุรีมีป่าสงวนแห่งชาติ 9 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 1 แห่ง และป่าโครางการสัปทาน 1 แห่ง ดังนี้ ป่าสงวนแห่งชาติ มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 906,396 ไร่ ประกอบด้วย 1. ป่าเขาเขียว มีเนื้อที่ประมาณ 55,625 ไร่ อยู่ในเขตอำเภอเมืองชลบุรี และ อำเภอศรีราชา 2. ป่าท่าบุญมี-บ่อทอง มีเนื้อที่ประมาณ 170,625 ไร่ อยู่ในเขต อำเภอพนัสนิคม และ อำเภอบ่อทอง 3. ป่าคลองตะเคียน มีเนื้อที่ประมาณ 376,750 ไร่ อยู่ในเขต อำเภอบ่อทอง 4. ป่าแดง-ป่าชุมนุมกลาง มีเนื้อที่ประมาณ 160,062 ไร่ อยู่ในเขต อำเภอบ้านบึง 5. ป่าเขาชมภู มีเนื้อที่ประมาณ 28,589 ไร่ อยู่ในเขต อำเภอบ้านบึง และ อำเภอศรีราชา 6. ป่าเขาพุ มีเนื้อที่ประมาณ 5,482 ไร่ อยู่ในเขต อำเภอเมืองชลบุรี และ อำเภอศรีราชา 7. ป่าเขาหินดาด-ป่าเขาไผ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2,215 ไร่ อยู่ในเขต อำเภอบ้านบึง 8. ป่าบางละมุง มีเนื้อที่ประมาณ 103,075 ไร่ อยู่ในเขต อำเภอบางละมุง 9. ป่าเขาเรือนแตก มีเนื้อที่ประมาณ 1,500 ไร่ อยู่ในเขตอำเภอบ้านบึง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาเขียว-เขาชมภู่ มีเนื้อที่ประมาณ 90,437.5 ไร่ โครงการสัมปทาน ได้แก่ ป่าโครงการไม้กระยาเลยอยู่ในท้องที่ อำเภอบ้านบึง และ อำเภอพนัสนิคม มีเนื้อที่ประมาณ 528,580 ไร่ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการปิดการทำ ไม้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 > แหล่งน้ำ จังหวัดชลบุรีมีแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำชลประทาน แหล่งน้ำธรรมชาติประกอบด้วย ลุ่มน้ำบางประกง มีลำน้ำสำคัญ 2 สายคือ คลองหลวง ซึ่งมีต้นน้ำใน อำเภอพนัสนิคม และ ห้วยคลองใหญ่ ใน อำเภอบ้านบึงแหล่งน้ำที่สำคัญของชลบุรี คือ คลองประแสร์ คลองหลวง คลองพานทอง และคลองบางพระจังหวัดชลบุรีมีปริมาณน้ำไม่ค่อยเพียงพอสำหรับนำไปใช้ในกิจการต่างๆ ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของดินเป็นดินทรายและดินร่วน ปนทรายทำให้เก็บกักน้ำในดินได้น้อย ประกอบกับจังหวัดชลบุรีมีปริมาณน้ำฝนน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆในภูมิภาคนี้ รวมทั้งการพัฒนา แหล่งน้ำเพื่อการชลประทานก็ทำได้ลำบาก นอกจากนั้นความเจริญของชุมชน การท่องเที่ยว และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นสาเหตุสำคัญอีก ประการหนึ่งที่ทำให้ปริมาณน้ำของจังหวัดชลบุรีไม่ค่อยเพียงพอ ปัจจุบันชลบุรีมีอ่างเก็บน้ำบางพระ อ่างเก็บน้ำหนองค้อ อ่างเก็บน้ำมาบประชัน และอยู่ระหว่างการก่อนสร้างอีก 5 แห่ง > ประการัง กลุ่มปะการังที่สำคัญ พบได้บริเวณเกาะล้าน เกาะสาก เกาะครกใกล้พัทยา และแสมสาร > แร่ ปัจจุบันมีการทำเหมืองแร่เหล็ก ในอำเภอพนัสนิคม และอำเภอสัตหีบ

เกี่ยวกับ โหราศาสตร์จีน พิมพ์ โหราศาสตร์จีนหรือที่เรียกว่า "โป๊ยยี่สี่เถี่ยว" มีความเป็นมายาวนานหลายพันปี โดยเริ่มกำเนิดจากปรมาจารย์ "จื่อเพ้ง" ได้คิดค้นขึ้นและถ่ายทอดไว้ โดยมีพื้นฐานจาก ธาตุ 5 ธาตุ คือ ดิน น้ำ ไฟ ทอง ไม้ ซึ่งเมื่อนำมาวิเคราะห์ คำนวณ จึงสามารถบอกและคาดการณ์สิ่งที่เป็นไปและที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ด้วยตัวอักษรจีนเพียง 22 ตัว เรียงร้อยกันก็สามารถถอดรหัสชีวิตออกมาได้มากมาย ปราชญ์โบราณ ปรมาจารทั้งหลาย ได้คิดค้นศาสตร์นี้ขึ้นเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้รู้ถึงชะตาชีวิต รวมทั้งวิธีแก้ไข เพื่อปรับการดำเนินชีวิตให้ดีขึ้นต่อไป ดังนั้นวิชาการนี้จึงมีครูบาอาจารย์คุ้มครองมิให้ใครก็ตามนำไปใช้ในทางที่ผิด มิฉะนั้นจะถูกสวรรค์ลงโทษ ประวัติปรมาจารย์ จื่อเพ้ง ตามจดหมายเหตุได้ยกย่อง สวี่จื่อผิง หรือ จื่อเพ้ง เป็นปรมาจารย์โหราศาสตร์จีน ผู้ชำระและแก้ไขโหราศาสตร์จีนให้สมบูรณ์ จนเกิดเป็นตำราโหราศาสตร์จีนแบบ "โป้ยหยี่" แก่คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อมา ก่อนยุคของท่านปรมาจารย์ จื่อเพ้ง ปราชญ์โบราณได้พยายามศึกษาวิธีการทำนายทายทักเหตุการณ์ต่างๆมานับพันปี เพื่อจุดประสงค์ต่างๆกัน ทั้งการรบ สงคราม การปกครอง เหตุการณ์ดีร้ายเกี่ยวกับบ้านเมือง โดยเริ่มตั้งแต่การเสี่ยงทายโดยใช้กระดูกสัตว์ พิเคราะห์ดวงดาว แต่ก็ยังจำกัดเหตุการณ์และคำทำนายก็ยังไม่แม่นยำถูกต้องนัก ต่อมาได้มีการนำหลักการณ์เบญจธาตุ ปรัชญาหยินหยาง มาใช้ร่วมกับการพยากรณ์ แต่กระนั้นก็ยังหยาบอยู่ ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่งและหยวน บันทึกเอาไว้ว่า มีปราชญ์คนหนึ่งชื่อ หลี่ปี้เฉียน จากแคว้นคังจวี ได้นำเอาวิชาของพวกพราหมณ์เข้ามาประยุกต์ใช้ จึงทำให้วิชาโหราศาสตร์จีนเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ต่อมาจนถึงยุคท่านปรมาจารย์จื่อเพ้งเข้ามาศึกษาและปรับปรุงศาสตร์นี้จนเป็นอย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ คือมีราศีฟ้าและราศีดินของวัน เดือน ปี และยามเกิด รวมกันเป็น 4 เสา 8 อักขระ นำมาคำนวณร่วมกัน จากอักขระดังกล่าวก็สามารถนำมาพยากรณ์ดวงชะตาของบุคคลหนึ่งๆได้

ปฏิรูปการศึกษาในสังคมไทย
ชุมชนกับการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา

สุชาดา จักรพิสุทธิ์
นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนลำดับที่ 657
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 9.5 หน้ากระดาษ A4)



แนวคิดและปัญหา
"การมีส่วนร่วม" เริ่มเป็นที่รับรู้ของสังคมไทยในห้วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยกระแสของการเมืองในโลกยุคใหม่ ที่มีทิศทาง De-centralize (กระจายออกจากศูนย์กลาง) และเน้นไปในเรื่องสิทธิของพลเมืองทั้งในฐานะปัจเจกและในฐานะหน่วยทางสังคม กับการเคลื่อนไหวและปฏิบัติการของชุมชนไทย ที่คึกคักขึ้นจากความตื่นตัวต่อปัญหาและนโยบายประชานิยม

เช่นกัน ที่วาทกรรม"การมีส่วนร่วม" ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2545 อันระบุว่า ในการจัดการศึกษาให้ยึดหลักการ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (มาตรา 8) และในกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักการระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆมาใช้ และการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันทางสังคมอื่น

ความจริง ก่อนหน้าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แวดวงการศึกษาไทยก็เริ่มให้ความสนใจต่อแนวทาง "บวร" หรือการประสานความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้แก่เด็กและเยาวชน ระหว่าง บ้าน-วัด-โรงเรียน เพียงแต่ยังไม่แพร่หลาย และมีการปฏิบัติต่างๆ กันไปตามความเข้าใจ อีกทั้งยังมีปัญหาในระดับกระบวนทัศน์ของโครงสร้างบริหารการศึกษาส่วนบน ที่ยังไม่เข้าใจว่า การมีส่วนร่วมนั้น มีมิติที่มากไปกว่าการให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางความร่วมมือ และความร่วมมือนั้นมีความหมายแตกต่างจากการมีส่วนร่วมเกือบสิ้นเชิง รวมถึงการมองไม่เห็นลึกซึ้งถึงการเชื่อมโยงบทบาทของการศึกษาในระบบ กับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่เกาะเกี่ยวบูรณาการไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Live long Education)

ตัวอย่างหนึ่งของปัญหาเชิงนโยบายต่อกระบวนการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของสังคม คือข้อมูลที่แสดงว่าแม้แต่การจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน ที่น่าจะเปิดการลงทุนแก่ภาคเอกชน ก็กลับมีแนวโน้มลดลง เหลือเพียงร้อยละ 13 และเป็นสัดส่วนที่คงที่มากว่า 10 ปี โดยมีแนวโน้มลดลงอีก สาเหตุเนื่องจากการขยายตัวของระบบการศึกษาโดยรัฐ ที่มีอย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานแนวคิดว่า รัฐควรดำเนินการจัดการศึกษาเอง จึงมีผลทำให้กฎหมาย ระเบียบและแนวปฏิบัติต่างๆ มีลักษณะของการกำกับควบคุม มากกว่าการส่งเสริม สนับสนุน

ในขณะเดียวกัน องค์กรทางสังคมและชุมชนที่จัดการศึกษาเป็นกลุ่มเล็กๆกระจัดกระจายกันอยู่นั้น ก็มีแนวคิด ปรัชญาและเป้าหมายการศึกษาที่แตกต่างไปจากความรู้ความเข้าใจของภาครัฐ เนื่องจากเป็นการศึกษาที่เน้นวิถีชีวิตและการปฏิบัติที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชน ที่เรียกกันว่ากลุ่ม การศึกษาทางเลือก ( Alternative Education )
การจัดการศึกษาโดยชุมชนเหล่านี้จึงถูกกีดกันออกไปจากระบบการศึกษาไทยมาช้านาน แต่ก็น่ายินดีที่กระแสการปฏิรูปการศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น เริ่มหันมาให้ความสนใจและเปิดที่ทางแก่การเชื่อมโยงซึ่งกันและกันมากขึ้น

สำหรับการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครอง ซึ่งถือเป็นหัวใจของการจัดการศึกษาให้เยาวชน จากผลการวิจัยด้านครอบครัวในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ยืนยันเสมอมาว่า ความสัมพันธ์ที่ดีและการช่วยเหลือกันระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองแและโรงเรียนในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก นอกจากจะทำให้เด็กประสบผลสำเร็จในด้านวิชาการแล้ว ยังมีส่วนช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม ที่นำไปสู่ความก้าวหน้าในชีวิตอนาคต

เราจึงสรุปได้ว่า การกระจายอำนาจและการบริหารอย่างมีส่วนร่วมในทุกระดับ เป็นหลักการสำคัญที่สุดของเป้าหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดกว้างให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน สถาบันทางสังคม ได้มีบทบาทเป็น"ทุนทางสังคม"และ"ทุนทางวัฒนธรรม"ให้แก่การศึกษาทุกระบบ หากแต่ยังหมายรวมถึงการเปิดที่ทางให้ชุมชน สถาบันทางสังคม ที่รวมเอาสถาบันครอบครัวไว้ด้วย ได้ปฏิบัติการตรงในการจัดการความรู้และจัดการศึกษาให้แก่ลูกหลานของเขาเอง รวมถึงการที่สถาบันทางสังคมต่างๆ จะสร้างองค์กรหรือหน่วยงานหรือสถาบันจัดการศึกษาที่หลากหลายแตกต่างไปจากระบบโรงเรียน ไว้เป็นทางเลือกแก่สังคมไทยด้วย

อย่างไรก็ดี ในที่นี้เราจะมุ่งทำความเข้าใจ การมีส่วนร่วมในมิติที่เป็นไปได้มากที่สุดสำหรับสถานการณ์ในสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือการมีส่วนร่วมจัดการเรียนรู้ระหว่างครอบครัว ชุมชน และโรงเรียน ในบริบทของการศึกษาในระบบก่อน

"ชุมชน" กับ "การมีส่วนร่วม"
ชุมชนในยุคปัจจุบัน ไม่ใช่ชุมชนตามความเข้าใจเดิมอีกต่อไป กล่าวคือไม่แต่เป็นชุมชนที่มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และอยู่ภายใต้วัฒนธรรมชุดเดียวกันเท่านั้น อีกทั้งไม่ใช่ชุมชนในความหมายที่เป็นหน่วยการปกครองของรัฐ หากแต่เป็นชุมชนแบบใหม่ที่อาจเรียกว่า "ชุมชนโดยเจตนา" หรือ Intentional Community อันหมายถึง ผู้คนจำนวนหนึ่งที่อาจอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือต่างพื้นที่ มารวมกลุ่มกันภายใต้เจตนาที่จะดำเนินกิจกรรมหรือภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน มีความสัมพันธ์กันในระยะเวลาที่ต่อเนื่อง

หากเรามองชุมชนในความหมายใหม่ดังกล่าวนี้ ก็จะพบว่า กลุ่ม-สมาคมผู้ปกครอง หรือกลุ่มผู้รู้ท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายที่โรงเรียนอาจเชื่อมโยงถึง ก็เป็น"ชุมชน"อย่างหนึ่งนั่นเอง ดังนั้นชุมชนในกระแสโลกาภิวัตน์จึงอาจลำดับได้ดังนี้

- ชุมชนชนบท > มีวัฒนธรรมเดิม ระบบเครือญาติ ทำการเกษตร พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ
- ชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท > วัฒนธรรมผสม ทำการเกษตรรายย่อย / ขายแรงงาน / และธุรกิจรายย่อย พึ่งเมืองพึ่งธรรมชาติ มีทั้งเครือญาติและกลุ่มความสัมพันธ์ใหม่
- ชุมชนเมือง > วัฒนธรรมใหม่ รับจ้างหรือทำธุรกิจ พึ่งพาตลาด กลุ่มความสัมพันธ์ใหม่
- ชุมชนโดยเจตนา > หลากหลาย มีความสัมพันธ์แนวราบ ทำกิจกรรม / ภารกิจร่วมกัน
เป็นกลุ่มความสัมพันธ์ใหม่ในระยะเวลาหนึ่ง

สำหรับ"การมีส่วนร่วม" เมื่อพิจารณาอย่างรอบด้าน เราจะพบว่ามีความหมายที่แตกต่างอย่างมากกับ"ความร่วมมือ " แต่คนมักสับสนและจัดวางเส้นแบ่งในทางปฏิบัติได้ยาก เพราะ ความร่วมมือ (Cooperation) นั้นหมายถึง การที่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็น "เจ้าของหรือเจ้าภาพ" งานหรือกิจกรรมนั้น ๆ แล้วขอให้ฝ่ายอื่นๆเข้าร่วม เช่น ขอความร่วมมือด้านทรัพย์ สิ่งของแรงงานหรือเวลาในการทำกิจกรรม ฯลฯ มีลักษณะเกิดขึ้นเป็นครั้ง ๆ ไปไม่มุ่งความต่อเนื่องและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าร่วม แต่มุ่งจะให้กิจกรรมหรืองานนั้นเสร็จตามความต้องการของฝ่ายเจ้าของงาน เช่น

โรงเรียนต้องการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เป็นโรงเรียน ISO 14000 ผู้บริหารก็เชิญผู้ปกครองประชุมเพื่อขอความร่วมมือ โดยแจ้งให้ทราบว่า ส่วนของผู้ปกครองจะทำอะไรได้บ้างเพื่อไปสู่ผลลัพธ์ดังกล่าว ความสัมพันธ์แบบนี้ ไม่ถือว่าเป็นการมีส่วนร่วม หากแต่เป็นเพียงความร่วมมือเท่านั้น

แต่ การมีส่วนร่วม (Participation) คือ การที่องค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งครู ผู้เรียน ผู้บริหารการศึกษา ผู้นำชุมชน หรือสมาชิกชุมชน มาร่วมกันดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยในการดำเนินการนั้นมีลักษณะของกระบวนการ (Process) มีขั้นตอนที่มุ่งหมายจะให้เกิดการเรียนรู้ (Learning) อย่างต่อเนื่อง มีพลวัต (Dynamic) คือมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีการแก้ปัญหา การร่วมกันกำหนดแผนงานใหม่ๆ เพื่อสร้างความยั่งยืนในความสัมพันธ์ของทุกฝ่ายที่เข้าร่วม ซึ่งมีความหลากหลายตามความเกี่ยวข้องของกิจกรรมที่จะทำ เช่น

การสร้างหลักสูตรท้องถิ่นร่วมกันในประเด็นอนุรักษ์ทรัพย์ทรัพยากรและพลังงาน อาจมีภาคีและตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วม แตกต่างไปจากกิจกรรมค่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นแค่กิจกรรมทั่วไป เนื่องจากหัวใจสำคัญของการมีส่วนร่วมนั้นคือ การระดมความคิด ซึ่งคือการกระจายอำนาจอย่างหนึ่ง กับความสัมพันธ์ที่เป็นแนวราบ เสมอภาคกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

หลักการและกระบวนการของ "การมีส่วนร่วม" ได้แก่

- การระดมความคิด คือ การคิดค้นและวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน ในลักษณะของการร่วมคิด มิใช่จากฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว บนพื้นฐานความศรัทธาว่าทุกคนที่เข้ามามีส่วนร่วมนั้นมีศักยภาพ
- การวางแผน คือ นำสิ่งที่ร่วมกันคิดมากำหนดเป็นแผนปฏิบัติการร่วมกัน ด้วยการระดมทรัพยากรจากทุกฝ่าย (คน สิ่งของ งบประมาณ เวลา ฯลฯ)
- การลงมือทำ คือ การนำแผนงานที่ได้ ไปร่วมกันทำหรือแบ่งงานกันรับผิดชอบเพื่อให้เป็นไปตามแผนหรือเป้าหมายที่วางไว้
- การติดตามประเมินผล คือ ร่วมกันติดตามผลงานที่ทำ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน ร่วมกันคิดพัฒนาปรับปรุงให้งานดีขึ้น
- การรับประโยชน์ร่วมกัน มีทั้งผลประโยชน์ทางรูปธรรมที่ต้องการให้เกิดตามกิจกรรมที่ทำนั้น และผลประโยชน์โดยอ้อม แต่มีความสำคัญมาก คือ การเรียนรู้จากการร่วมคิดร่วมทำ และความสัมพันธ์ระหว่างภาคีที่พัฒนาไปสู่การมีส่วนร่วมที่สมานฉันท์ เสมอภาค และเอื้ออาทรกันมากขึ้นเป็นลำดับ

เปิดรั้วโรงเรียนสู่การมีส่วนร่วม
พลังของการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครองและชุมชน ย่อมให้ผลลัพธ์อันน่าอัศจรรย์ทั้งในแง่การแบ่งเบาภาระงบประมาณ บุคลากร รวมถึงทรัพยากรอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศักยภาพและความรู้จากผู้คนที่อยู่นอกรั้วโรงเรียน แต่ที่สำคัญคือ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ความเข้าใจของโรงเรียนเสียใหม่ ในสิทธิการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาจากทุกภาคส่วน เพื่อโรงเรียนจะเปิดใจกว้างต่อแนวทางที่สร้างสรรค์ยิ่งขึ้น ซึ่งกำลังเป็นแนวโน้มใหญ่ที่เกิดขึ้นในแวดวงการศึกษาทั่วโลกอยู่ในเวลานี้ แล้วจะพบว่า…

บทบาทการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองนั้น มีได้ตั้งแต่ในระดับปฏิบัติและระดับนโยบาย ในระดับปฏิบัติได้แก่ การเป็นครูร่วมสอน ที่มีสาระสำคัญมากกว่าการเป็นอาสาสมัคร นั่นหมายถึงการที่ผู้ปกครองจะมีส่วนร่วมในการกำหนดบทเรียน และกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกับครูในชั้นเรียนของลูก เนื่องจากผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยมีประสบการณ์ทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ ที่อาจให้ข้อมูลความรู้ ความชำนาญเฉพาะที่มากไปกว่าตำราเรียน ทั้งนี้ครูร่วมสอนควรจะต้องวางแผนหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน การสร้างกิจกรรมหนุนเสริม ไปจนถึงการติดตามประเมินผลร่วมกับครู ซึ่งบทบาทเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วอย่างมีประสิทธิผลในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์

นอกจากนี้ ก็อาจมีบทบาทปฏิบัติในการเยี่ยมบ้าน การช่วยเหลือครอบครัวที่มีปัญหาหรือมีลักษณะพิเศษ รวมถึงอาจมีบทบาทจัดกิจกรรมที่น่าสนใจในวันหยุดให้แก่กลุ่มพ่อแม่หรือเด็ก ตลอดจนการช่วยงานหรือสนับสนุนงานค้นคว้า วิจัย หรืองานห้องสมุดของโรงเรียน

โดยปกติ พ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนหนึ่งมักได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสมาคมครู / ผู้ปกครองอยู่แล้ว แต่โรงเรียนอาจคิดถึงการมีส่วนร่วมที่มากไปกว่านี้ นับแต่การเชิญผู้ปกครองให้กว้างขวางขึ้น การเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมคิดตั้งแต่การสร้าง"ธรรมนูญโรงเรียน"เสียด้วยซ้ำ ตลอดจนการสนับสนุนให้เกิดกลุ่มผู้ปกครองที่ติดตามแผนการพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง การสร้างกระบวนการพัฒนา"ผู้นำ"แก่กลุ่มผู้ปกครอง การกระจายอำนาจให้ผู้ปกครองตรวจสอบผลงานของโรงเรียนได้อย่างโปร่งใส ตลอดจนการร่วมเป็นวิทยากร เป็นคณะกรรมแผนการศึกษาต่างๆ เป็นต้น

แต่ในภาพรวมของสังคมไทย พ่อแม่ผู้ปกครองและประชาชนส่วนใหญ่ ยังไม่รู้หรือไม่มีสำนึกในเรื่องการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา และแม้แต่ไม่รู้ว่ามี"สิทธิ"ที่จะร้องขอเป็นคณะกรรมการการศึกษาในระดับต่างๆ ตั้งแต่โรงเรียนไปจนถึงเขตพื้นที่การศึกษา

อย่างไรก็ดี จุดชี้ขาดที่สำคัญยังคงอยู่ที่วิสัยทัศน์ ความเข้าใจของผู้บริหารโรงเรียน เนื่องจากนี่เป็นกระบวนการที่รื้อถอนความเคยชินเดิมๆลงอย่างสิ้นเชิง แต่หากปฏิบัติได้จริงจากน้อยไปสู่มาก ก็จะให้ผลกระทบในระดับมวลชนอย่างสำคัญ ที่จะก่อเกิดแบบอย่างและโรงเรียนพันธุ์ใหม่ ครูพันธุ์ใหม่ ผู้ปกครองพันธุ์ใหม่ นักเรียนพันธุ์ใหม่ ที่นำไปสู่คุณภาพอย่างใหม่
ได้อย่างแน่นอน

ในส่วนบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชน อาจมีได้ดังต่อไปนี้

- การมีส่วนร่วมเป็นแหล่งเรียนรู้ เนื่องจากโรงเรียนย่อมตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนแบบใดแบบหนึ่งทำเลที่ตั้งของชุมชนและความเป็นมาในอดีต เช่น สภาพทางภูมิศาสตร์ หรือประวัติศาสตร์ของชุมชน เช่น การก่อตั้งชุมชน การดำรงอยู่ ความสัมพันธ์กับปัจจัยภายนอก ผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลง เป็นต้น ล้วนเป็นความรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงที่จะเสริมสร้างทักษะการคิด และทัศนคติที่เหมาะสมและสำนึกต่อชุมชนแก่เด็กและเยาวชน ได้แก่

* แบบแผนการผลิตของชุมชน โครงสร้างทางระบบเศรษฐกิจ เกษตรกรรม วัฒนธรรม การเมือง สิ่งแวดล้อม ทัศนคติของคนที่มีต่ออาชีพ เป็นต้น

* วัฒนธรรมประเพณี รวมทั้งความเชื่อ ค่านิยม ระบบคุณค่า ภูมิปัญญา ของกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน

* เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น ประดิษฐกรรม นวัตกรรมหรือการคิดค้นด้านการผลิตต่าง ๆ ของชุมชน ที่อาจพัฒนาหรือเป็นกรณีศึกษา

* ผู้นำชุมชนหรือผู้รู้ ในชุมชนย่อมมีผู้นำชุมชน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โรงเรียนควรสร้างความสัมพันธ์เพื่อเกื้อหนุนร่วมมือกันต่อไป

- ด้านการศึกษาทางเลือกหรือหลักสูตรท้องถิ่น เพราะชุมชนมีศักยภาพเต็มที่ ในขณะที่โรงเรียนมักมีข้อจำกัดเรื่องตัวครู หรือบุคลากรในระบบที่จะจัดการศึกษาในหลักสูตรท้องถิ่น รวมถึงขาดแคลนองค์ความรู้ เพราะครูในระบบราชการมีความรู้วิชาการที่เน้นไปในเรื่องหลักสูตรที่รับใช้เศรษฐกิจ-อุตสาหกรรม เมื่อไม่มีตัวบุคคลในระบบที่เหมาะสม โรงเรียนก็มักเพิกเฉยต่อหลักสูตรท้องถิ่นไปเสีย แต่ถ้าหากโรงเรียนปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ นำครูชาวบ้านเข้ามาทดแทน ก็จะทำให้หลักสูตรท้องถิ่นมีชีวิตชีวา ปฏิบัติได้ สอดคล้องกับความเป็นจริง ส่วนในเรื่องงบประมาณ วิธีการจัดการเรียนการสอน หรือรายละเอียดต่าง ๆ นั้น ก็จะคลี่คลายได้ ถ้าให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น

- การมีส่วนร่วมจัดการเรียนการสอน ในลักษณะนี้ อาจเป็นไปได้ตั้งแต่การเป็นวิทยากรท้องถิ่น ครูชาวบ้าน สถานประกอบการ แหล่งความรู้ ศูนย์การเรียน สถาบันทางราชการและธุรกิจเอกชน อบต. วัด ฯลฯ โรงเรียนอาจส่งนักเรียนไปเรียนรู้โดยตรงภายในชุมชน เช่น ไปฝึกงานในสถานประกอบการหรือไปเก็บข้อมูล วิจัย สัมภาษณ์ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน จากคนเฒ่าคนแก่ หรือแม้แต่การให้กลุ่มผู้ปกครอง ชุมชน มีส่วนร่วมประเมินผลการจัดการศึกษาดังกล่าวนี้ด้วย รวมถึงมีส่วนร่วมวางแผนการศึกษา การออกแบบหลักสูตรที่ต้องใช้องค์ความรู้ของชุมชน เป็นต้น โดยโรงเรียนสามารถประยุกต์ความรู้เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในหลักสูตรวิชาต่าง ๆ ซึ่งเป็นไปได้ตั้งแต่การเป็นรหัสวิชา การทำรายงาน โครงการ สถิติ portfolio ฯลฯ

- การมีส่วนร่วมในการจัดการ ซึ่งอาจเป็นกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ การจัดการโครงการ การรณรงค์ การบริหารหรือจัดหางบประมาณ - ความร่วมมือ การบำเพ็ญประโยชน์ การเข้าร่วมดำเนินงานวาระพิเศษต่างๆ เช่น แผนงานรณรงค์ยาเสพติด โครงการอนุรักษ์พลังงาน เป็นต้น

- การมีส่วนร่วมในระบบ Whole School Approach (W.S.A) ในสถานศึกษา หมายถึง การจัดระบบบริหารจัดการ การเรียนการสอนทั้งด้านกายภาพ และชีวภาพ ให้เหมาะแก่การเรียนรู้ร่วมกันหรือก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ทั้งภายในสถานศึกษาและจากชุมชน อาทิ การให้ชุมชนร่วมจัดจัดสิ่งแวดล้อม การฝึกอบรมแก่บุคลากร การจัดทำป้ายนิเทศ นิทรรศการ การจัดทำสื่อ เสียงตามสายฯ เป็นต้น

เรายังอาจคิดค้นกระบวนการมีส่วนร่วมได้อีกมาก หากรู้จักการทำงานร่วมกับชุมชน ชุมชนจะเป็นขุมพลังของโรงเรียนได้ไม่ยาก โดยโรงเรียนจะต้องทำให้การศึกษาข้ามพ้นไปจากห้องเรียนแบบเก่า ด้วยกระบวนการเรียนรู้และการทำกิจกรรมอย่างมีส่วนร่วม ที่มีลักษณะ

1. มุ่งผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Learning Outcome) ที่นักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน และภาคีต่าง ๆ จะเกิดความรู้ความเข้าใจในบางเรื่องบางปัญหาร่วมกัน มากกว่ากิจกรรมของการสร้างวัตถุ (เช่น จัดหาถังขยะ การปรับปรุงสวนหย่อม)

2. เน้นการมีส่วนร่วมและบทบาทของชุมชนกับโรงเรียนอย่างเสมอภาค สมานฉันท์ มิใช่กิจกรรมของโรงเรียนฝ่ายเดียว หรือมีชุมชนเข้าร่วมอย่างจำกัดหรือเป็นครั้งคราว

3. มีแนวโน้มของความยั่งยืนในระยะยาว สามารถขยายผลต่อเนื่องไปได้ มิใช่กิจกรรมระยะสั้น ที่ทำเสร็จสิ้นไปในช่วงเวลาเฉพาะหน้าเท่านั้น

4. มีเนื้อหาที่สัมพันธ์กับฐานชีวิต ฐานวัฒนธรรมและฐานทรัพยากรของชุมชน

5. เป็นกิจกรรมที่เชื่อมโยงเข้ากับการเรียนการสอน มิได้แยกออกมาต่างหาก

6. เป็นกิจกรรมที่มีลักษณะสร้างสรรค์ สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน
โรงเรียนที่จะดำเนินการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมเช่นนี้ได้ จะต้องทำความรู้จักเข้าใจชุมชน เข้าใจวัฒนธรรม จิตวิญญาณ และศักยภาพของชุมชน

ข้อเสนอเพื่อความร่วมมือร่วมใจ
หากเราเห็นพ้องกันว่า การศึกษาคือเครื่องมือสำคัญที่สุดของการแก้ปัญหาและ
เป็นหนทางพัฒนาคุณภาพคน โดยเฉพาะในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ที่ก่อวิกฤตห้อมล้อมเด็กๆของเราอยู่ ลำพังครูและโรงเรียนย่อมไม่สามารถจะปกป้องและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางปัญญาได้อย่างเพียงพอ จำเป็นอย่างยิ่งที่ครอบครัว ชุมชน โรงเรียนและสถาบันทางสังคม เช่น วัด รวมถึงหน่วยงานบริหารการศึกษา จะต้องร่วมมือร่วมใจกันเปิดประตูบานใหม่
ดังต่อไปนี้

1. โรงเรียนและหน่วยงานการศึกษา (ในที่นี้ เช่น เขตพื้นที่การศึกษา) ระดมการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครองและชุมชน จัดทำเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านการเรียนการสอน

2. หน่วยงานการศึกษาควรให้ความสำคัญและสนับสนุนการรวมกลุ่มของผู้ปกครอง ให้เข้ามาทำ
หน้าที่หรือมีบทบาทจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ การคิดค้นแผนงานความร่วมมือ โครงการนำร่อง เป็นพี่เลี้ยงหรือกลไกการประสานงานชุมชน

3. ควรมีต้นแบบหรือพื้นที่นำร่อง หรือทำการศึกษาวิจัยกรณีศึกษาการมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผล
เจาะลึก เพื่อให้เกิดชุดความรู้การมีส่วนร่วม ที่สามารถเป็นบทเรียนหรือสืบต่อสู่คนรุ่นหลัง

4. ส่งเสริมให้แต่ละเขตพื้นที่การศึกษา มีหน่วยประสานที่เป็นศูนย์กลางและเป็นพี่เลี้ยง ให้คำ
ปรึกษาแก่โรงเรียนในการขยายบทบาทการจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมที่มีมาตรฐาน รวมถึง
การสนับสนุนเครือข่ายพ่อแม่ เครือข่ายชุมชนที่มีความพร้อม ให้เข้ามาเป็น"หุ้นส่วน"จัดการศึกษาในเขตพื้นที่นั้น

5. กระทรวงศึกษาธิการ ควรเร่งรัดการออกกฎกระทรวงในส่วนที่เกี่ยวกับคณะกรรมการเขตพื้นที่
การศึกษา และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และในส่วนคุณสมบัติและการได้มาซึ่งกรรมการ ควรให้มีความยืดหยุ่น และมีสัดส่วนที่ให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมได้มากขึ้น รวมถึงควรมีการทบทวนและปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย

6. รัฐควรวางระบบ กลไกและมาตรการ ให้เอกชนและภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษา
โดยกำหนดสิทธิประโยชน์แก่กลุ่มฝ่ายต่างๆอย่างชัดเจนและเป็นธรรม ตามที่กำหนดในมาตรา 14 เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนทางการศึกษาและการะดมทรัพยากรใหม่ๆ

7. การทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในระดับต่างๆ จำเป็นต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้อง อาทิ

( 7.1 ) ในส่วนของเขตพื้นที่และสถานศึกษา ควรจัดกระบวนการเรียนรู้และให้ความรู้แก่ผู้บริหาร ครู ผู้ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความตระหนัก รวมถึงทักษะในการสานสัมพันธ์และการทำงานร่วมกับกลุ่มอันหลากหลาย การรับมือและแนวทางแก้ไขปัญหา โดยกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวต้องเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันเพื่อให้รู้จริง ไม่ใช่การฝึกอบรมระยะสั้น ทั้งนี้ อาจใช้กระบวนการต้นแบบเป็นพี่เลี้ยง

( 7.2 ) ในส่วนของพ่อแม่ผู้ปกครอง ชุมชน ต้องจัดการเรียนรู้เพื่อให้เห็นความสำคัญและความจำเป็นในการจัดการศึกษาแก่ลูกหลานของเขาเอง การเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และ ระดับของการมีส่วนร่วม ซึ่งอาจดำเนินการโดยการลงมือทำพร้อมไปกับการถอดบทเรียนและการยายผล ( Learning by Doing )

8. จัดการรณรงค์อย่างกว้างขวางผ่านสื่อประเภทต่างๆ รวมทั้งการจัดทำสื่อเผยแพร่และคู่มือต่างๆที่จำเป็น เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

9. ในระยะเริ่มต้น น่าจะมีคณะกรรมการหรือองค์กรระดับชาติ ที่เป็นกลไกกลางในการรับผิด
ชอบการส่งเสริม สนับสนุน รวมถึงติดตามผลและสังเคราะห์องค์ความรู้การมีส่วนร่วม เพื่อทำให้การมีส่วนร่วมจัดการศึกษาโดยทุกภาคส่วนของสังคมเกิดขึ้นอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการดังกล่าว ควรประกอบด้วยตัวแทนจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

อย่างไรก็ดี ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงบททดลองนำเสนอ ที่ต้องการการมีส่วนร่วมคิดร่วมกำหนดความเป็นไปได้อีกมากมายต่างกรรมต่างวาระ เพื่อให้ภาพฝันอันงดงามต่อการบริหารจัดการศึกษาในแนวคิดใหม่ เกิดเป็นจริงขึ้นได้ในที่สุด