Click!!! Webboard BWC school
“คุณหญิงกษมา”
ออก 7 ข้อถึง ผอ.สพท.คุมพฤติกรรมเด็ก
|
โดย ผู้จัดการออนไลน์ |
23 กันยายน 2550 14:44 น. |
 |
เลขาธิการ
กพฐ.ออกหนังสือเวียนด่วนถึง
ผอ.สพท. ทั่วประเทศทำ
7 ข้อ แก้ปัญหาพฤติกรรมนักเรียน
ระบุไม่คิดทำสถานที่รองรับเด็กก้าวร้าวรุนแรง
ให้ สพท.หารูปแบบแก้เด็กกลุ่มนี้ตามเหมาะสม
หลังมีนโยบายแล้ว สพท.ใดยังย่อหย่อน
ทั้งที่ระบบพร้อม ต้องปรับเปลี่ยนผู้บริหาร
|
 |
|
คุณหญิงกษมา วรวรรณ
ณ อยุธยา | |
 | คุณหญิงกษมา
วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(กพฐ.) เปิดเผยว่า หลังจากได้หารือปัญหาเรื่องปัญหาพฤติกรรมนักเรียนและแนวทางแก้ไขกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(สพท.) แล้ว ตนได้ออกหนังสือเวียนแนวปฏิบัติการติดตามดูแลพฤติกรรมนักเรียน
7 ประการ ไปถึงผู้อำนวยการ
สพท.ทั่วประเทศ ซึ่งจะแก้ปัญหาได้หรือไม่คงทำเพียงข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้
ต้องทำทั้งหมดด้วยกัน
เมื่อมีนโยบายนี้ไปแล้วเกิดปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนอีก
ต้องดูว่าระบบดูแลนักเรียนของโรงเรียนมีปัญหาหรือไม่
ถ้ามีทุกอย่างพร้อมแล้วโรงเรียนไม่ทำ
ต้องปรับเปลี่ยนผู้บริหาร คุณหญิงกษมา
เปิดเผยด้วยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(สพฐ.) ไม่คิดจะสร้างสถานที่ขึ้นมาอบรมนักเรียนพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงออกจากเด็กปกติ
แต่จะเป็นลักษณะเมื่อรู้ว่าเด็กคนใดมีพฤติกรรมอย่างไร
ให้โรงเรียน และ สพท.ร่วมกันแก้ปัญหา
นำเด็กหัวโจกเข้าค่าย
สพท.อาจจะกำหนดให้โรงเรียนใดเป็นศูนย์ฝึกอบรมเด็กเหล่านี้ได้
จะได้ศึกษาและรู้จักเด็กอย่างลึกซึ้งว่าอะไรเป็นต้นเหตุของปัญหาเพื่อหาแนวทางแก้ให้ตรงจุด สำหรับหนังสือเวียน
7 ข้อ คือ 1.ให้ สพท.ถือเป็นหน้าที่ต้องติดตามดูแลและแก้ปัญหาพฤติกรรมนักเรียนทั้งในและนอกสถานศึกษา 2.ให้โรงเรียนประเมินเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลนักเรียนที่นำร่องอัตราส่วนครูที่ปรึกษา
1 คนต่อนักเรียน 20 คน และปีงบประมาณ
2551 ให้เร่งสร้างความเข้มแข็งในโรงเรียนที่สอนระดับช่วงชั้นที่
3-4 เป็นอันดับแรก 3.ให้
สพท.สนับสนุนโรงเรียนปรับปรุงการเรียนการสอนทักษะชีวิต
ให้นักเรียนรู้คุณค่าของแนวคิดที่แตกต่าง
สามารถจัดการกับความเครียด
ความกดดัน และระงับข้อขัดแย้งด้วยสันติวิธี 4.ให้
สพท.สนับสนุนโรงเรียนจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนในรูปแบบที่หลากหลาย
เข้าถึงนักเรียนที่มีปัญหาและพัฒนาศักยภาพ 5.กรณีนักเรียนมีพฤติกรรมหรือแนวโน้มจะมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
และเกินความสามารถของโรงเรียนจะแก้ไขได้ตามลำพัง
ให้ สพท.ร่วมกับหน่วยงานที่ชำนาญจัดการอบรมในรูปแบบค่าย
หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
เพื่อช่วยเหลือดูแลนักเรียนเหล่านั้นเป็นกรณีพิเศษ
และวางระบบติดตามดูแลต่อเนื่อง 6.เยาวชนนอกโรงเรียนที่อยู่ในวัยการศึกษาภาคบังคับ
ให้ สพท.เร่งสำรวจ และร่วมกับสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น
ให้โอกาสกลับมารับการศึกษาอีกครั้ง 7.ให้
สพท.ร่วมมือกับจังหวัดและหน่วยงานเกี่ยวข้อง
พัฒนาระบบส่งเสริมความประพฤติเด็กและเยาวชน
ติดตามดูแลพฤติกรรมของนักเรียนนอกสถานศึกษา
ช่วยลดพื้นที่เสี่ยงและส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ดีสำหรับเยาวชนในจังหวัด | |
http://burapha.niceboard.com/index.htm
|